สำหรับใช้กับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการไม่รุนแรงและมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ที่พักอาศัยนั้นต้องมีลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมีอากาศที่ถ่ายเทดี สามารถแยกห้องนอนห้องน้ำของผู้ป่วยและสมาชิกในบ้านได้ มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทั้งของผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิดเช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ ฯลฯ
- สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้ดี ดูแลตนเองได้ และเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก
- ข้อพิจารณาอื่นๆ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
สามารถให้ผู้ป่วยดูแลรักษาตัวที่บ้านได้โดยให้ปฏิบัติดังนี้
- ผู้ป่วยหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก อย่างน้อย 1 วันเพื่อลดการแพร่เชื่อ
- เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูกตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
- เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการ เช็ดตัวลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเกินไป หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้า ให้อบอุ่นทันที
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
- พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
- นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
แนะนำผู้ป่วยว่า หากมีอาการมากขึ้น เช่น ไข้สูง เหนื่อยมากขึ้น แน่นหน้าอก หอบ หายใจ ไม่สะดวก กินไม่ได้ ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยสามารถแจ้งที่สายด่วน สปสช. 1330 และสายด่วน 1668 เพราะโรคนี้อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของความเจ็บป่วยหากมีอาการรุนแรงมากขึ้นควรเรียกให้รถของโรงพยาบาลไปรับเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หรือถ้าเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวให้เปิดหน้าต่างขณะเดินทาง
ให้ผู้สัมผัสปฏิบัติดังนี้
- ผู้สัมผัสควรหยุดเรียนหยุดงานและพักอยู่กับบ้านจนกว่าจะครบ 14 วันหลังการสัมผัส
- ผู้สัมผัสควรนอนแยกห้องไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ
- รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
- หากมีอาการไอให้ สวมหน้ากากอนามัย หรือ ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งหรือ ใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
- เมื่ออยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตรหรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
- ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้งที่สุด เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ
- ทำความสะอาดเสื้อผ้าผ้า ปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 ํC
- เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย โดยวัดไข้และรายงานอาการต่อทีมสอบสวนโรคทุกวัน
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้สัมผัสใกล้ชิดเป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้เนื่องจากปริมาณไวรัสที่ผ่านทางน้ำนมมีน้อยมาก แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
การป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน
- ผู้ป่วยควรนอนแยกห้องไม่ออกไปนอกบ้านไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วันเพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
- รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่นหากอาการทุเลาแล้วอาจรับประทานอาหารร่วมกันได้แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวเช่นผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัวแก้วน้ำหลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น
- หากมีอาการไอให้ สวมหน้ากากอนามัยหรือ ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจามโดยปิดถึงคางแล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งหรือ ใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
- เมื่ออยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
- ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
- ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อดูแลเสร็จต้องถอดหน้ากากอนามัยลงในถังขยะและ ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
- ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้งที่สุดเพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ
- ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้ป่วยพักเช่นเตียงโต๊ะบริเวณของใช้รอบ ๆ ตัวของผู้ป่วยรวมถึงห้องน้าด้วยน้ำยาฟอกขาว 596 โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ายาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้า 99 ส่วน)
- ทำความสะอาดเสื้อผ้าผ้าปูเตียงผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำหรือชักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 ํc
- เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้านภายในระยะเวลา 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วย
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดเป็นมารดาให้นมบุตรยังสามารถให้นมบุตรได้เนื่องจากปริมาณไวรัสที่ผ่านทางน้านมมีน้อยมากแต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัด ทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
อ้างอิงจาก : ที่มากรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข / ภาพประกอบจาก https://www.columbiaasia.com/