How to วิธีกักกันตัวเองที่บ้านทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

Last updated: 16 มี.ค. 2563  |  2835 จำนวนผู้เข้าชม  | 

How to วิธีกักกันตัวเองที่บ้านทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

ถ้าคุณต้อง กักกันตัวเอง คุณต้องหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นให้มากที่สุด คุณควรอยู่ในพื้นที่ปิดให้มากที่สุดคุณยังออกไปเดินเล่น ไปวิ่ง ไปขี่จักรยานได้ แต่ต้องทำคนเดียว และไม่อยู่ใกล้คนอื่น

สิ่งที่ห้ามทำ

  • ไม่ไปเรียน หรือไปทำงาน
  • ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ขนส่งสาธารณะหรือแท๊กซี่
  • ไม่ไปพบปะสังสรรค์ เข้าสังคม ทำกิจกรรม หรือไปที่คนพลุกพล่าน
  • ไม่เชิญใครมาบ้าน
  • ไม่ไปช๊อปปิ้งซื้อของ ยุคสมัยนี้ คุณสั่งของออนไลน์ หรือให้คนอื่นเอาของมาส่งไว้ให้คุณได้
  • ไม่เข้าใกล้ผู้สูงอายุ คนที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์
  • ไม่ออกเที่ยว

 

สิ่งที่ควรทำ

  • อยู่บ้าน อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท
  • อยู่ห่าง แยกตัวจากคนอื่น ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • คอยตรวจสอบอาการตัวเอง แจ้งแพทย์ทางโทรศัพท์ ถ้ามีอาการ หรืออาการหนักขึ้น
  • ใช้ทิชชู่ปิดปากเมื่อไอหรือจาม แล้วล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้อง
  • ใช้ของส่วนตัว อย่างเช่นผ้าขนหนู จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ แยกจากคนอื่น
  • ทำความสะอาดห้องทุกวันด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

 

ถ้าคุณไม่ได้อยู่บ้านคนเดียว

  • แยกตัวอยู่ใตห้องที่มีหน้าต่าง มีอากาศถ่ายเท
  • ถ้าเป็นไปได้ แยกใช้ห้องน้ำ แต่ถ้าต้องใช้ร่วมกัน คุณควรเป็นคนสุดท้าย แล้วทำความสะอาดให้เรียบร้อยหลังเสร็จธุระ
  • ไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่น นั่นหมายถึง จาน, แก้วน้ำ, ถ้วย, ช้อนส้อม, ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอน

 

มื้ออาหาร

  • ถ้าเป็นไปได้ ให้คนเอาถาดอาหารมาวางให้คุณที่หน้าประตู เมื่อคุณทานเสร็จ เอาทุกอย่างใส่ถาดแล้ววางไว้ที่ประตูอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องล้างด้วยน้ำร้อนใส่น้ำยาล้างจาน ใส่ถุงมือยางเวลาล้างจาน ตากจานชาม ช้อนส้อม ให้แห้ง ล้ามถุงมือขณะที่ยังใส่อยู่ ล้างมือหลังถอดถุงมืออก

 

หน้ากากอนามัย

  • ถ้าคุณต้องอยู่ห้องเดียวกับคนอื่น คุณต้องล้างมือก่อน แล้วจึงหยิบหน้ากากมาสวม ถ้าคุณไม่มีหน้ากาก ต้องอยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1 ถึง 2 เมตร และถ้าเป็นไปได้ ทุกคนที่อยู่ในห้อง ควรต้องสวมหน้ากากด้วย
  • อย่าสัมผัสด้านนอกหน้ากาก และล้างมือให้สะอาดหลังถอดหน้ากากออก และคุณไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก เมื่ออยู่คนเดียว

 

ล้างมือบ่อยๆ

  • ล้างมืออย่างถูกวิธีและบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูเวลาที่คุณไอหรือจาม ทิ้งทิชชูแล้วล้างมือทุกครั้ง

 

ทำความสะอาดบ้านด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

  • น้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ขายในซุปเปอร์มาเก็ตส่วนใหญ่ สามารถใช้กำจัดไวรัสโคโรนาได้ ทำความสะอาดพื้นผิวเหมือนปกติ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือกระดาษเปียกฆ่าเชื้อ
  • พื้นผิวที่ว่านี้คือ: พื้นผิวโต๊ะและเคาท์เตอร์ทุกชนิด ลูกบิดประตู เครื่องสุขภัณฑ์ โทรศัพท์ คีย์บอร์ด อุปกรณ์มือถือ โต๊ะข้าวเตียง
  • ถ้าเป็นไปได้ ใส่ถุงมือยางเงลาทำควาทสะอาดด้วย ล้างถุงมือในขณะที่ยังใส่อยู่ และล้างมือหลังถอดแล้ว

 

ซักผ้า

เสื้อผ้าที่ใส่แล้ว ใส่ถุงพลาสติกแยก ให้คนอื่นใส่ถุงมือมาเก็บจากหน้าห้อง

  • ซักผ้าด้วยผงซักฟอกน้ำร้อนที่สุดเท่าที่เนื้อผ้าจะสามารถรับได้
  • ทำความสะอาดทุกพื้นผิวรอบเครื่องซักผ้า
  • ล้างถุงมือขณะที่ยังใส่อยู่
  • ล้างมือด้วยสบู่หลังถอดถุงมือ
  • ถ้าเป็นไปได้ อบแห้งเสื้อ และรีดด้วยเตารีดไอน้ำ
  • อย่าเอาเสื้อผ้าไปซักที่ร้าน

 

การจัดการขยะ

  • ใส่ทุกอย่างที่คุณใช้ ทั้งกระดาษทิชชู่ หน้ากากอนามัย ลงในถุงขยะพลาสติก ปิดถุงเมื่อขยะเต็มที่ 3 ส่วน 4 ของความจุถุง ซ้อนถุงขยะแล้วมัดปากถุงอีกรอบ
  • ขยะจากการทำความสะอาด ใช้วิธีจัดการเดียวกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้เกิน 72 ชั่วโมง หลังจากใส่ถุง 2 ชั้นแล้ว สามารถทิ้งรวมกับขยะทั่วไปได้

 

สื่อสารกับแพทย์สม่ำเสมอ

  • ถ้ามีอาการ รู้สึกแย่ลง โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์

 

การดูแลเด็ก หรือบุคคลที่อยู่ระหว่างกักกันโรค

ถ้าคุณต้องดูแลเด็กหรือคนอื่นที่ต้องการการดูแลระหว่างกักกันโรค

  • อยู่ห่างจากกันให้ได้อย่างน้อย 1 เมตร และหลีกเลี่ยงการสัมผัส ใช้โทรศัพท์ในการสื่อสาร
  • ล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้องทุกครั้ง หลังปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
  • ถ้ามีหน้ากาก ใส่หน้ากากทั้งสองฝ่าย เวลาที่อยู่ในห้องเดียวกัน
  • ถ้าต้องทำความสะอาดน้ำลาย หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ บนหน้าผู้ติดเชื้อ ใช้กระดาษทิชชู ทิ้งถังขยะทันที แล้วล้างมือให้สะอาด
  • ให้ผู้ติดเชื้ออยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท
  • จำกัดความเคลื่อนไหวผู้ติดเชื่อในบ้าน
  • ถ้าเป็นไปได้ ใช้ห้องน้ำแยกกับผู้อื่น
  • ใข้คนดูแลให้น้อยคนที่สุด ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงเพียงคนเดียว
  • ให้ผู้ติดเชื้ออยู่ห่างคนที่มีปัญหาสุขภาพและสตรีมีครรภ์

 

สภาพจิตใจ

  • การเข้าใจและมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้อง จะช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัว พยายามใช้ชีวิตใก้ลเคียงปกติมากที่สุด

  • ทัศนคติบวกเป็นสิ่งสำคัญ คิดว่าจะรับมือสถานการณ์อย่างไร จำไว้ว่า การ กักกันตัวเอง ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป อย่าลืมที่จะสื่สารพูดคุยกับครอบครัว เพื่อนฝูง ถึงแม้เจอตัวกันไม่ได้ คุณก็ยังมีโทรศัพท์ มีสื่อโซเชียล

  • การกักกันตัวเอง แน่นอนว่ามีช่วงเวลาที่น่าเบื่อและหงุดหงิด อาจกระทบอารมณ์ความรู้สึกของคุณ เตรียมใจให้พร้อม นั่งคุยกับคนในครอบครัว และจะได้ใช้หรือไม่ วางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนดีกว่า


แนะนำโดยหน่วยงานสาธารณสุข รัฐบาลไอร์แลนด์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้