Last updated: 26 พ.ค. 2562 | 3785 จำนวนผู้เข้าชม |
ด่วน! สิ้น "พลเอก เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุ 99 ปี
สำหรับประวัติเกิดที่เมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อนั้น พระรัตนธัชมุนี เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้, เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า เมื่อจบการศึกษาในปี 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี 2485 – 2488 ที่เชียงตุง
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ภายหลังสงคราม รับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อปี 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อปี 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อปี 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 ในระหว่างที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ในปี 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2511 – 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ในช่วงนั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ทั้งนี้ ก่อนอสัญกรรม เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี 2523 ถึง 2531 เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ไม่มีภริยา
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ลงนามในสมุดจดทะเบียนราชาภิเษกสมรส ในฐานะสักขีพยาน ใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2562