ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Disruptive Technology)

Last updated: 17 ต.ค. 2566  |  3266 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Disruptive Technology)

งานเสวนา "ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Disruptive Technology)"

        เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการกระจายเสียง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินโครงการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการกระจายเสียง ประจำปี 2566 และร่วมกันจัดงานเสวนาวิพากษ์ผลการศึกษา “ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Disruptive Technology)”  ณ ห้องประชุมอารีย์ 1 ชั้น 22 โรงแรม เดอะควอเตอร์ อารีย์ (The Quarter Ari by UHG) กรุงเทพมหานคร

        ในวันนี้เป็นงานแถลงผลการศึกษาฯ และรวบรวมความเห็นเชิงวิพากษ์ผลการศึกษาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมกระจายเสียง เพื่อนำไปสู่การออกข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ กสทช. ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้สามารถเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีได้อย่างปราศจากความบกพร่อง อันเนื่องจากการขาดการเตรียมการให้เท่าทันเทคโนโลยี โดยเวทีเสวนาในวันนี้

        ช่วงแรกนั้น ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพาได้นำเสนอผลการศึกษา “ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Disruptive Technology)” ดังนี้ 1) นำเสนอคลิปวีดิโอสื่อสารผลการศึกษาของโครงการฯ 2) ผลการประเมินสภาวะของการให้บริการกิจการกระจายเสียงหลังได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ และกลุ่มทดลองออกอากาศ 3) อุปสรรคหรือข้อจำกัดของการให้บริการกระจายเสียง 4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นตัวแปรกำหนดความนิยมในการรับบริการกระจายเสียงในประเทศไทย 5) ผลการวิเคราะห์ช่องว่างในการให้บริการกระจายเสียงในประเทศไทย 6) รายงานคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย หลังจากนำเสนอผลการศึกษาฯ เรียบร้อยแล้ว จึงเริ่ม การเสวนา Session ที่ 1 เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้กำหนดนโยบาย กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง โดย รองศาสตราจารย์ คลินิก พลเอก สายัณห์ สวัสดิ์ศรี กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการกระจายเสียง ร่วมกับ พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง และ ดร.สมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ต่อประเด็นการแก้ปัญหาของผู้รับใบอนุญาตที่เผชิญปัญหาอุปสรรคภายหลังการประกอบกิจการหลังได้รับใบอนุญาตโดยสำนักงาน กสทช. และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของแต่ละใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด อันนำมาสู่ปัญหาในการปรับตัวของผู้รับใบอนุญาตรายเดิม

        หลังจากนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการจัดการลิขสิทธิ์ ในช่วงการเสวนา Session ที่ 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบกิจการสำหรับผู้รับใบอนุญาตในประเทศไทย ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ โดย ผศ.ดร. ใยแก้ว ศีลรักษ์ อาจารย์ผู้สอนรายวิชากฎหมายและเชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ มาบรรยายให้ความรู้ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อเสียง อาทิ ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง และการแพร่เสียง อีกทั้ง มีการแลกเปลี่ยนความเห็นด้านลิขสิทธิ์เพลงและแนวทางการส่งเสริมกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย ในการปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โดย นางสาว ไรวินท์ รุจิเรข นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ นาย พิเศษ จียาศักดิ์ ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด

นายสุทนต์ กล้าการขาย , นางสาวญาณินท์ เรืองศิริ ผู้แทนสมาคมสื่อช่อสะอาด (จากขวา)

        สุดท้าย รองศาสตราจารย์ คลินิก พลเอก สายัณห์ สวัสดิ์ศรี กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการกระจายเสียง ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้เข้าร่วมเสวนาในประเด็นวิพากษ์ผลการศึกษาฯ โดยข้อมูลในวันนี้จะใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงให้ทันต่อสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) และจัดทำรายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้