Last updated: 22 ก.พ. 2566 | 7615 จำนวนผู้เข้าชม |
ศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษา 'กนกวรรณ วิลาวัลย์' ผิดจริยธรรมร้ายแรงคดีขอออกโฉนดที่ดินปราจีนบุรีรุกป่าเขาใหญ่ ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น. ศาลฎีกา สนามหลวง กรุงเทพมหานคร นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.2/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ร้อง นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้คัดค้าน เรื่อง การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
คดีนี้ ป.ป.ช.ผู้ร้องยื่นคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินในพื้นที่หมู่ที่ 15 ตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ 30-2-80.5 ไร่ โดยอ้างว่าซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจาก นายทิว มะลิซ้อน เมื่อปี 2533 แต่นายทิว มะลิซ้อน ไม่มีตัวตน ทั้งไม่เคยมีการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และแนวเขตป่าไม้ถาวรป่าเขาใหญ่
โดยศาลได้พิพากษาว่านางกนกวรรณมีความผิด ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษหยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมือง และให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา
สำหรับคำสรุปความของคดีนี้ตามเอกสารข่าวแจกของศาลฎีกานั้นมีดังต่อไปนี้
คดีนี้ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ผู้ร้องยื่นคําร้องว่า วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้คัดค้านขอออก โฉนดที่ดินในพื้นที่หมู่ที่ 15 ตําบลเนินหอม อําเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ 30-2-80.5 ไร่ โดย อ้างว่าซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากนายทิว มะลิซ้อน เมื่อปี 2533 แต่นายทิวไม่มีตัวตน ทั้งผู้คัดค้านไม่เคยเข้า ทําประโยชน์ในที่ดิน ที่ดินอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และแนวเขตป่าไม้ถาวรป่าเขาใหญ่
การออกโฉนด ที่ดินเลขที่ 41158 ตําบลเนินหอม อําเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จึงมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้าน ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินต่อเนื่องตลอดมาจนกระทั่งเข้าดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้ศาลฎีกามีคําพิพากษาหรือคําสั่งว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ของผู้คัดค้าน และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 235 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 87 และมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กร อิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 8 และข้อ 11, 17 ประกอบข้อ 27
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ศาลฎีกามีคําสั่งให้รับคําร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ผู้คัดค้านต้องหยุด ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคําพิพากษา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 87 วรรคสาม และระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการ พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2561 ข้อ 12 วรรคสอง
ผู้คัดค้านยื่นคําคัดค้านว่า ผู้คัดค้านให้ข้อมูลในการสอบสวนสิทธิ์ผิดพลาดโดยแจ้งนามสกุลนายทิว เป็น มะลิซ้อน นายขอด และนางโม่ง กันสร้าง ทําประโยชน์ในที่ดินก่อนปี 2496 แล้วโอนต่อนายมี นายมี ขายให้นายทิว แล้วนายทิว ขายให้นายสุนทร จากนั้นนายสุนทร ให้ผู้คัดค้านเข้าทําประโยชน์ แนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ขีดครั้งที่ 3 โดยนายคณิต เพชรประดับ ทําไว้ถูกต้องแล้ว ผู้คัดค้านมีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย ขอให้ยกคําร้อง
ต่อมาศาลฎีกาไต่สวนพยานผู้ร้องวันที่ 22 และวันที่ 28 ธันวาคม 2565 กับไต่สวนพยานผู้คัดค้านวันที่ 10 มกราคม 2566
ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาแรกว่า ผู้คัดค้านซึ่งดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกระทําการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 11 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง หรือไม่ เห็นว่า การกระทําอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ ส่วนรวมนั้น ต้องมีสถานการณ์หรือการกระทําที่บุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ มีประโยชน์ส่วนตน อันอาจ กระทบต่อการวินิจฉัยสั่งการหรือการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ในตําแหน่งของบุคคลนั้น โดยอาจ เป็นอํานาจหน้าที่ในการกํากับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบในเรื่องที่ตนมีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อผู้คัดค้านไม่มี อํานาจหน้าที่โดยตรงในการกํากับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรมที่ดิน กรมป่าไม้ และกรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทําของผู้คัดค้านเป็นกระทําการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ตามมาตรฐานทางจริยธรรม ฯ ข้อ 11 ประกอบข้อ 27 วรรค สอง
ปัญหาต่อไปว่า ผู้คัดค้านแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองอันถือว่ามีลักษณะร้ายแรง ตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมฯ ข้อ 8 ประกอบข้อ 27 วรรคหนึ่ง และผู้คัดค้านกระทําการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ ของการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรง ตามมาตรฐานทาง จริยธรรมฯ ข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง หรือไม่
ผู้คัดค้านอ้างข้อความต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิว่า ผู้คัดค้าน ได้ที่ดินมาโดยการซื้อมาจากนายทิว มะลิซ้อน เมื่อปี 2533 และผู้คัดค้านทําประโยชน์ในที่ดินด้วยการทําสวน ปลูก มะม่วง กระท้อน และพืชตามฤดูกาลเต็มทั้งแปลง เห็นว่า ผู้คัดค้านให้การและเบิกความในชั้นไต่สวนว่า นายทิว มะลิทอง ขายที่ดินที่ครอบครองทําประโยชน์ให้นายสุนทร วิลาวัลย์ บิดาผู้คัดค้าน หลังจากนั้นนายสุนทรให้ผู้คัดค้านเข้า ครอบครองทําประโยชน์ ซึ่งเท่ากับผู้คัดค้านยอมรับว่านายทิว มะลิซ้อน ไม่มีตัวตนอยู่จริง ผู้คัดค้านรู้อยู่แต่แรกแล้วว่า เจ้าของที่ดิน คือ นายทิว มะลิทอง และนายทิว มะลิทองขายที่ดินให้นายสุนทร มิใช่ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านชอบที่ต้องแจ้ง ข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ให้ตรงต่อความจริงว่าผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้ซื้อที่ดินมาด้วยตนเอง หากแต่นายสุนทรเป็นผู้ซื้อที่ดิน ที่ผู้คัดค้านเบิกความว่า ผู้คัดค้านครอบครองทําประโยชน์ในที่ดินโดยปลูกต้นไผ่ตง ต้นกระพ้อ พืชผัก สวนครัว ต้นมะม่วง ต้นกระท้อน และพืชอื่นตามฤดูกาล เมื่อพิจารณาตามรายงานการวิเคราะห์ภาพถ่ายทาง อากาศบริเวณตําบลเนินหอม เอกสารหมาย ร. 67 ที่ใช้ภาพถ่ายทางอากาศในปี 2496, 2510, 2516, 2532, 2546 และ 2553 ประกอบสํารวจข้อมูลภาคสนามวันที่ 4 ถึง 6 เมษายน 2565 ปรากฏว่าไม่พบการ ทําประโยชน์ใด ๆ ในพื้นที่มีสภาพเป็นป่ารกทึบ และหินโผล่ ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวมีนายธวัชชัย ศรีสมบูรณ์ ตัวแทนของผู้คัดค้านเข้าร่วมตรวจสอบที่ดิน ทั้งนักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายเชี่ยวชาญ สํานักสํารวจด้านวิศวกรรม และธรณีวิทยา กรมชลประทาน เบิกความว่า ไม่พบร่องรอยการทําสวน ปลูกไม้ผล ในช่วงปีใด ๆ ทั้งสิ้น บ่งชี้ให้เห็น ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผู้คัดค้านอ้างว่านายขอด นายมี นายทิว และตัวผู้คัดค้านเองครอบครองที่ดินต่อเนื่องกันมานั้น ที่ดินยังมิได้มีการเข้าทําประโยชน์เป็นหลักฐานมั่นคงและมีผลผลิตอันเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ อันเป็นเงื่อนไขการ ออกโฉนดที่ดินตามข้อ 5 แห่งระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2532) ซึ่งสอดคล้องกับ คําเบิกความของนายหอมและนายทิวว่า สภาพที่ดินมีลักษณะเป็นหินกรวดผสมดินลูกรังบางส่วน และรายงานการ วิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่เอกสารหมาย ค. 2 ที่ผู้คัดค้านอ้างก็ไม่ได้ระบุถึงต้นไผ่ ต้นกระพ้อ ต้นมะม่วง หรือต้นกระท้อน และการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2546 ปี 2553 และปี 2560 กับการเดินสํารวจที่ดิน เมื่อปี พ.ศ. 2565 ไม่พบไม้แต่งล้อม ต้นไผ่ และต้นกระพ้อแต่อย่างใดที่ผู้คัดค้านอ้างว่าได้ให้นายหอมทําประโยชน์ใน ที่ดินจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่ผู้คัดค้านขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 41158 นั้น ผู้คัดค้านไม่ได้ครอบครองทํา ประโยชน์ในที่ดิน ผู้คัดค้านจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดิน การที่ผู้คัดค้านให้ถ้อยคําต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิว่า เมื่อปี 2533 ผู้คัดค้านซื้อที่ดินมาจากนายทิว มะลิซ้อนเมื่อปี 2533 โดยนายทิว มะลิซ้อนกันสร้างมาเมื่อ ประมาณปี 2500 แล้วผู้คัดค้านครอบครองทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา จึงฟังได้ว่าเป็นการให้ถ้อยคําเท็จ ผู้คัดค้านจึงมิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ (3) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อ 14 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย ที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้ การที่กรมที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 41158 ให้ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อผู้คัดค้านขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แล้วได้โฉนดที่ดินมาตั้งแต่ปี 2554 และยังคงถือครองโฉนดที่ดินดังกล่าวมาจนถึงวันที่ผู้คัดค้านดํารงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 8 แล้ว และถือว่ามี ลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ทั้งการกระทําดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์และเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้คัดค้านที่ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แม้มิได้เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ของตนโดยตรงก็ตามเพราะอาจทําให้สาธารณชนขาดความเชื่อถือศรัทธาต่อการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของผู้คัดค้าน จึงเป็นการก่อให้เกิด ความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ในการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการด้วย ตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 17 เมื่อการกระทําดังกล่าวถือได้ว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในการบังคับใช้ กฎหมาย จึงเป็นกรณีมีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 27 วรรคสอง
พิพากษาว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 87 ประกอบมาตรา 81 และ มาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 8 ประกอบข้อ 27 วรรคหนึ่ง และข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง ให้ผู้คัดค้านพ้น จากตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2505 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคําสั่ง ให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองใด ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคสาม วรรคสี่ และเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งของผู้คัดค้านมีกําหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกามีคําพิพากษา คําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก.