ป.ป.ช. เผยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2565 ประเทศไทย ได้ 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก

Last updated: 1 ก.พ. 2566  |  5165 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ป.ป.ช. เผยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2565 ประเทศไทย ได้ 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก

ป.ป.ช. เผยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2565 ประเทศไทย ได้ 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก จาก 180 ประเทศทั่วโลก เดนมาร์ก อันดับ 1 สิงคโปร์ อันดับ 4

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ได้เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2565 โดยจากจำนวนประเทศ 180 ประเทศทั่วโลกนั้น ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ 90 คะแนน จัดเป็นอันดับ 1 ของโลกคือ ประเทศเดนมาร์ก, อันดับ 2 ของโลกได้ 87 คะแนน คือ ประเทศฟินแลนด์ และประเทศนิวซีแลนด์ ในขณะที่ประเทศไทย ได้ 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดคือประเทศสิงคโปร์ ได้ 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565 นั้น เป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่ง โดยประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2 แหล่ง คือ IMD WORLD เพิ่มขึ้นจาก 39 คะแนนในปี 2564 เป็น 43 คะแนน,  WEF เพิ่มขึ้นจาก 42 คะแนนในปี 2564 เป็น 45 คะแนน, ลดลง 2 แหล่ง คือ PERC ลดลงจาก 36 คะแนนในปี 2564 เป็น 35 คะแนน, WJP ลดลงจาก 35 คะแนนในปี 2564 เป็น 34 คะแนน และคงที่ 5 แหล่ง คือ BF(TI), EIU, GI, และ V-DEM โดยสำนักงาน ป.ป.ช. จะได้จัดทำบทวิเคราะห์อย่างเป็นทางการเพื่อเผยแพร่ต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามได้ในทุกช่องทางออนไลน์ของสำนักงาน ป.ป.ช. เช่น  เฟสบุ๊คเพจ “สำนักงาน ป.ป.ช.” และเว็บไชต์ www.nacc.go.th เป็นต้น สำหรับรายละเอียดของผลดัชนี CPI ประจำปี 2565 สามารถเข้าชมได้จากเว็บไซต์องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ www.transparency.org

เนื่องจากมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐได้มีการแก้ไขปัญหาการติดสินบน โดยมีการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับสินบนอย่างจริงจัง รวมทั้งการพัฒนาระบบการอนุมัติ อนุญาตให้มีความโปร่งใส การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนในตรวจการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ จึงส่งผลต่อมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่าปัญหาการติดสินบนและการคอร์รัปชัน ถูกแก้ไขเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

แหล่งข้อมูลที่คะแนนคงที่ จำนวน 5 แหล่ง ได้แก่

1. แหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (V-DEM)
ได้ 26 คะแนน (ปี 2021 ได้ 26 คะแนน)

2. แหล่งข้อมูล Bertelsmann Stiftung Transformation Index (BF (TI))
ได้ 37 คะแนน (ปี 2021 ได้ 37 คะแนน)

3. แหล่งข้อมูล Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU)
ได้ 37 คะแนน (ปี 2021 ได้ 37 คะแนน)

4. แหล่งข้อมูล Global Insight Country Risk Ratings (GI)
ได้ 35 คะแนน (ปี 2021 ได้ 35 คะแนน)

5. แหล่งข้อมูล PRS International Country Risk Guide (PRS)
ได้ 32 คะแนน (ปี 2021 ได้ 32 คะแนน)

ทั้งนี้ ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) เป็นดัชนีที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนหรือนักธุรกิจในการประเมินความเสี่ยงหรือใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศ ซึ่งดัชนีดังกล่าวสำรวจโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 มีสถานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริต

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้