"ยรรยง พงษ์พานิช" ชี้ทุจริตเชิงนโยบายปัญหาที่คนไทยต้องรู้เท่าทัน

Last updated: 9 เม.ย 2565  |  2589 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"ยรรยง พงษ์พานิช" ชี้ทุจริตเชิงนโยบายปัญหาที่คนไทยต้องรู้เท่าทัน

การอภิปราย เรื่อง “การป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย" โดย นายยรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารกลุ่มภารกิจการเงินธนาคารเกียรตินาคินภัทร ดร.วีระศักดิ์ แสงสาระพันธ์ ผู้อำนวยการกองนิติการ สกสค. ผู้ดำเนินรายการ นายสุทธินันท์ สาริมาน ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 13.00 น. นายยรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารกลุ่มภารกิจการเงินธนาคารเกียรตินาคินภัทร ดร.วีระศักดิ์ แสงสาระพันธ์ ผู้อำนวยการกองนิติการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) โดยมีายสุทธินันท์ สาริมาน ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย เรื่อง “การป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย" ให้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร "นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง" (นยปส.) รุ่นที่ 13 ณ สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ ภายใต้สำนักงาน ป.ป.ช. ห้องนนทบุรี 1 อาคาร 4 ถนนนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารกลุ่มภารกิจการเงิน ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่าการทุจริตเชิงนโยบาย คือผู้มีอำนาจออกนโยบายที่เอื้อต่อการทุจริต โดยยกตัวอย่างหลายโครงการของภาครัฐที่มีการประมูล คอร์รัปชั่นจึงเป็นมหันตภัยที่กัดกร่อนประเทศไทย โดยเฉพาะ เรื่องการจ่ายสินบน เพื่อซื้อความสะดวกสบาย คอร์รัปชันเพื่อซื้อหาความได้เปรียบในระบบการแข่งขัน การต่อต้านคอร์รัปชั่น ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ข้อมูลต่างๆต้องสามารถเปิดเผยต่อสาธารณะ

ดร.วีระศักดิ์ แสงสารพันธ์ ผู้อำนวยการกองนิติการ สกสค. กล่าวว่าการทุจริตเชิงนโยบาย คือการทุจริตที่มีวิธีการซับซ้อน เป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือระบบราชการทำการทุจริต นโยบายอาจเกิดจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมือง ในระบบโครงสร้างการบังคับใช้กฎหมาย การทุจริตเชิงนโยบายพัฒนาตัวเอง เห็นจุดอ่อนของการใช้กฎหมาย เติมเต็มด้วยภาคเอกชนที่แสวงหากำไร และมีระบบอุปถัมภ์แบบไทยๆ ทำให้การทุจริตเชิงนโยบายเติบโต

ลักษณะของการทุจริตเชิงนโยบาย มีขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญคือ กระบวนการสร้างความชอบธรรมในการคอร์รัปชันโดยการ สร้าง หรือใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเป็นเครื่องมืออย่างเป็นระบบ สร้างความสมเหตุสมผล ให้กับนโยบาย หรือกฎหมายต่างๆที่ล้วนเป็นเครื่องมือและข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรม แต่สร้างความเสียหายระยะยาวกับระบบเศรษฐกิจ 

  

:: เอกสารสำหรับดาวน์โหลดและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง ::

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้