Last updated: 27 ม.ค. 2565 | 674 จำนวนผู้เข้าชม |
นักศึกษาหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 13 เข้ารายงานตัวและปฐมนิเทศ
วันที่ 21 มกราคม 2565 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความเป็นมา โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ช. ว่า การทุจริตคอรัปชั่นในไทยยังมีอยู่ จนถือเป็นวัฒนธรรมของประเทศที่เจ้าพนักงานของรัฐอาศัยช่องว่างของกฏหมายที่เกิดจากการให้และการรับ ซึ่งเดิมการทุจริตมีความซับซ้อน ป.ป.ช. จึงมีหน้าที่ปฏิบัติด้วยการกำหนดนโยบายขับเคลื่อน โดยโครงสร้างมีคณะกรรมการป.ป.ช.จำนวน 9 คน และมีสำนักงานป.ป.ช.เป็นหน่วยปฏิบัติ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทุจริต และให้การบริหารงานสามารถทำได้อย่างดีเยี่ยม
ปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนหลายหน่วยงานทั้งศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ปปท. กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI แต่สุดท้ายต้องมาจบที่ป.ป.ช. เพราะเป็นองค์กรปราบปรามทุจริต ภายใต้ข้อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการทุจริตไปจนถึงคดีอาชญากรรมข้ามชาติ
พร้อมยอมรับว่า ป.ป.ช.คงไม่สามารถปราบปรามให้ประเทศไทยปราศจากการทุจริตคอรัปชั่นได้ แต่จะทำอย่างไรให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาสำคัญของการทุจริต ซึ่งเกิดขึ้นพัวพันอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน และหน่วยงาน โดยใช้ประชาชนเป็นหลักแบบป่าล้อมเมือง ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นจึงมีส่วนสำคัญ ที่มีงบประมาณมหาศาล และมีระบบการใช้จ่ายงบประมาณแตกต่างจากส่วนกลาง โดยปัจจุบันป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนกว่า60%มาจากการปกครองส่วนท้องถิ่น ป.ป.ช.ต้องเริ่มศึกษาการเลือกตั้ง ตั้งแต่การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
ดังนั้นผู้เข้ารับการศึกษา อบรม ถือเป็นเครือข่ายที่จะเข้ามาช่วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ทีป่วย.ป.ช.ต้องการแนวคิด ข้อเสนอแนะ ข้อแลกเปลี่ยนจากผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด แล้วนำไปขจัดปัญหาเรื่องร้องเรียน ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต โดยนำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ ปัญหาดังกล่าว
ด้านนายภูเทพ ทวีโชติธนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการปปช.กล่าวถึงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.ว่าไม่ใช่การลงไปปราบปราม แต่ลงไปยับยั้ง พิสูจน์ ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดจริงหรือไม่ หรือ ที่ถูกกล่าวหาผิดจริงหรือไม่
กรอบอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตปี2561 มีทั้งด้านปราบปราม ตรวจสอบทรัพย์สิน และป้องกัน ดังนี้
1.ด้านการปราบปราม ได้แก่ ไต่สวนและวินิจฉัยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง, ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม,ไต่สวนเพื่อดำเนินคดีในฐานความผิดอื่นที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนดหรือที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช.,สอบสวนทางลับเมื่อได้รับแจ้งพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
การปราบปรามการทุริตนั้น ป.ป.ช.ไม่ได้ดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียว แต่อาจจะส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวน หรือส่งกลับไปยังหน่วยงานต่างๆของเจ้าหน้าที่รัฐให้ดำเนินการลงโทษด้านวินัย
2.ด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้แก่ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอลและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลดังกล่าว ด้านการตรวจสอบทรัพยสิน ถือเป็นหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินตามข้อกฏหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
3.ด้านป้องกัน ได้แก่ จัดให้มีมาตราการหรือแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม,ส่งเสริมการรวมตัวของประชาชนในการป้องกันการทุจริต,กำหนดระเบียบบริหารจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ด้านป้องกันนั้น ป.ป.ช.สามารถเสนอมาตรการต่างๆที่จะสุ่มเสี่ยงจะเกิดการทุจริตคอรัปชั่น เพื่อให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนไปข้อเสนอแนะไปพิจารณา
ทั้งนี้การตรวจสอบของป.ป.ช.เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงลูกจ้างของหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่กฏหมายป.ป.ช.2561 ให้อำนาจอย่างอิสระ โดยป.ป.ช.มีอำนาจตั้งแต่สืบสวน สอบสวน จนไปถึงฟ้องคดีเองได้