กสทช.มติเห็นชอบแผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มและมาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มสำหรับวิทยุท้องถิ่นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 4 เมษายน 2565
วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีเอกสารเผยแพร่มติประชุม กสทช. ครั้งที่ 18/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ได้พิจารณาเห็นชอบแผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา และมาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา
ที่ประชุมเสียงข้างมากประกอบด้วย พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร ทําหน้าที่ประธาน พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มีมติเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามเอกสารที่สํานักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
- เห็นชอบสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดําเนินการต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา
- เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา ที่มีการปรับปรุงแก้ไขตามผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
- เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา ที่มีการปรับปรุงแก้ไขตามผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
- มอบหมายให้สํานักงาน กสทช. ดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.
ที่ประชุมเสียงข้างน้อย ( นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ) ขอสงวนความเห็น โดยมีประเด็นความเห็นต่อร่างประกาศ กสทช. 2 ฉบับที่นําเสนอ ดังนี้
1. โดยสาระใหญ่แล้ว เข้าใจว่าเจตนารมณ์ของการออกประกาศทั้งสองฉบับนี้ ก็เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเรื่องการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง แต่ถึงอย่างไร หากเป็นการเปลี่ยนผ่านในส่วนการประกอบกิจการธุรกิจ ก็ยังมีโจทย์ ในเรื่องของการประมูลคลื่นความถี่ ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร ประกอบกับ ดูเหมือนจะมีความไม่ชัดเจนของกรอบระยะเวลา ซึ่งจากที่มีการประกาศและแจ้งไป ยังผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการในช่วงระยะเวลาขณะนี้ว่ากําหนดสิ้นสุดการ ทดลองประกอบกิจการภายในปี พ.ศ. 2567 (โดยที่ผมไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นแยกออกกรอบระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าวันที่ 3 เมษายน 2565 ถึงกว่าสองปี ซึ่งวันที่ 3 เมษายน 2565 เป็นวันที่พ้นกําหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันครบกําหนดแผน แม่บทการบริหารคลื่นความถีตามคําสั่ง คสช. ดังนั้นการอนุญาตทดลองประกอบกิจการฯ ทั้งหลายจึงควรที่จะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว) แต่กลับมิได้มีการกําหนดไว้ ในร่างประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนของกรอบระยะเวลา เช่นนี้ การที่ผู้ประกอบการวิทยุต้องไปปรับปรุงเครื่องส่งทั้งหลายซึ่งก่อให้เกิดต้นทุน ก็จะส่งผลตามมาในเรื่องความคุ้มหรือไม่คุ้มในเชิงการลงทุน
2. ในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมีผู้คัดค้านร่างประกาศฯ เป็นจํานวนมาก โดยมีการล่ารายชื่อ (83 รายชื่อ) เพื่อเสนอให้รวมแผนความถี่ฯ และแผนความถี่ กําลังส่งต่ําฯ เป็นฉบับเดียวกัน อีกทั้งยังมีการแสดงความเห็นในประเด็นการกําหนด กําลังส่งไว้ที่ 50 วัตต์ว่าน้อยเกินไป เป็นภาระกับผู้ประกอบธุรกิจให้มีค่าใช้จ่ายต้อง ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และไม่เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งในส่วนกําลังส่งมีการ ปรับแก้ร่างประกาศฯ เพิ่มกําลังส่งเป็น 100 วัตต์แล้ว แต่ก็น่าจะไม่ได้ทําให้ปัญหา ดังกล่าวหมดไป ยิ่งกว่านั้นคือไม่ได้ทําให้สาระสําคัญของการคัดค้านร่างประกาศฯ เปลี่ยนไป
3. เรื่องนี้ได้นําเสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุม กสทช. ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 17/2564) แต่มีการขอถอนระเบียบวาระออกไป ซึ่งเข้าใจว่าเพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหาหลักคือ ในส่วนของกําลังส่งจาก 50 วัตต์ เป็น 100 วัตต์ อย่างไรก็ตามยังมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา ในส่วนอื่นๆ ด้วย ได้แก่ 1) มีการยกเว้นการยื่นแบบรายงานสําหรับปีแรกของการได้รับ ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ครั้งแรก ซึ่งไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลอย่างไร 2) ในการกําหนดให้แสดงความสอดคล้องตามมาตรฐานทางเทคนิค มีการปรับแก้เรื่องการยืนรายงานฯ จากการระบุว่าภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็น “ภายในระยะเวลาที่สํานักงาน กําหนดของทุกปี” ซึ่งทําให้เกิดความไม่ชัดเจนแน่นอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช.
อนึ่ง [ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ] ขอเปิดเผยความเห็นโดยจะจัดทําบันทึกความเห็นจัดส่งให้ในภายหลัง
1. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 18/2564 ที่ประชุมได้มีมติรับรองมติที่ประชุม กสทช. วาระที่ 5.1.33 เรื่อง ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม กําลังส่งต่ํา
2. พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร ทําหน้าที่ประธาน ขอฝากให้ ดร. นที ศุกลรัตน์ ได้แถลงข่าวถึงเหตุผลความจําเป็นในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่มีความสําคัญ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มีบันทึกที่ สทช 1005/151 ลงวันที่ 29 กันยายน 2564 ขอให้บันทึกความเห็นไว้ในรายงานการประชุม วาระที่ 5.1.33 ดังนี้
“ ผมขอยืนยันความเห็นตามบันทึกที่ สทช 1005/79 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2564 และบันทึกที่ สทช 1005/103 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เนื่องจาก เมื่อพิจารณาภาพรวมของแผนการดําเนินงานในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการกระจายเสียงและร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สําหรับการให้บริการกระจายเสียง พ.ศ. .... แล้ว พบว่าการดําเนินการดังกล่าวอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้รับใบอนุญาตในประเภทต่างๆ การปรับปรุงแก้ไขข้อกําหนดให้มีกําลังส่งไม่เกิน 50 วัตต์ เป็นไม่เกิน 100 วัตต์ รวมถึงแนวทางการยกเว้นการยื่นแบบรายงานสําหรับปีแรกของการได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ครั้งแรกนั้น ยังมิใช่เป็นการแก้ปัญหาสภาพอุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียงที่ต้นเหตุและไม่มีหลักการหรือเหตุผลรองรับ
เมื่อพิจารณาประกอบกับคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลข แดงที่ อ.1365/2563 กสทช. แล้ว จึงสมควรต้องจัดให้มีการกําหนดกรอบสัดส่วนคลื่นความถี่เพื่อให้อนุญาตไว้ในแต่ละประเภท ตามที่กฎหมายกําหนดขึ้นก่อน จากนั้นจึงดําเนินการกําหนดแผนคลื่นความถี่และมาตรฐานทางเทคนิค ตามมาให้มีความสอดคล้อง ท้ายสุดจึงดําเนินการจัดสรรคลื่นความถีให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการประกอบ กิจการในแต่ละประเภท " ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กล่าว
อ้างอิง :
1. สรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม
2. สรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ป้องกันการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ของสถานีวิทยุกระจายเสียงต่อกิจการวิทยุการบิน
3. สำนักงาน กสทช. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. จำนวน 6 ฉบับ เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00 - 12.00 น.