Last updated: 12 มิ.ย. 2564 | 3663 จำนวนผู้เข้าชม |
"ไช่อิงเหวิน" ประธานาธิบดีไต้หวัน ให้สัมภาษณ์สื่อวิทยุท้องถิ่นกรณีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าจากโรงงานในไทย ส่งมอบให้ "ไทเป" ล่าช้ากว่ากำหนด
ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 97.3 MHz รายการมหานครไทเป ซึ่งออกอากาศเมื่อเวลา 13.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำหญิงไต้หวันให้สัมภาษณ์ต่อสื่อนับตั้งแต่ไต้หวันเผชิญการระบาดในประเทศอย่างหนัก หลังก่อนหน้านี้ไต้หวันเคยประสบความสำเร็จในคุมการระบาดจนได้รับเสียงชื่นชมจากนานาชาติ ในการพูดคุยครั้งแรกกับสถานีวิทยุท้องถิ่น 'ไช่อิงเหวิน' เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมากว่าถึงสถานการณ์ระบาดในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการนำเข้าวัคซีนที่ยังคลุมเครือที่สาธารณชนสงสัยว่าเหตุใด รัฐบาลไทเปถึงนำเข้าวัคซีนได้ช้า รวมถึงการที่รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดโอกาสให้เอกชนนำเข้าวัคซีนทั้งๆ ที่ผู้บริหารหลายบริษัทยักษ์พร้อมช่วย ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่ 'เทอร์รี่ กัว' มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัท Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรายใหญ่ที่สุดในโลก แสดงตัวพร้อมควักเงินช่วยรัฐบาลจัดหาวัคซีน แต่ดูเหมือนรัฐบาลไทเปจะไม่ได้ให้ความสนใจ โดยเน้นไปที่วัคซีนจากผู้พัฒนาในประเทศมากกว่า ส่งผลให้สาธารณชนเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐบาลของเธอจะมีเอี่่ยวกับบริษัทยาเอกชนในประเทศหรือไม่
เรื่องนี้ผู้นำหญิงไต้หวันตอบว่า "เรา (รัฐบาล) ไม่ได้ซื้อหุ้นบริษัทยา ทรัพย์สินของเราก็แสดงให้เห็น คนในครอบครัวดิฉันก็ไม่ได้ซื้อหุ้นเช่นกัน การเก็งกำไรจากหุ้นโดยเฉพาะสถานการณ์แบบนี้เป็นเรื่องน่าอดสู"
"ทุกคนต้องการฉีดวัคซีนเราเข้าใจ ขอให้ช่วยกันอดทนก่อนในช่วงนี้ ด้วยมาตรการป้องกันตัวเองดีๆ ใส่หน้ากากอนามัย และอย่าการ์ดตกเด็ดขาดเพื่อความปลอดภัย ส่วนเรื่องวัคซีนที่ไต้หวันผลิตเองในประเทศ ของให้วางใจได้ว่ายังไงก็ต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยตามมาตรการด้านวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่เชื่อถือได้ เรื่องนี้เป็นจุดยืนสำคัญของรัฐบาล วัคซีนต้องมีทั้งความปลอดภัยและประสิทธิภาพซึ่งผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล ก่อนที่จะแจกจ่ายประชาชน หากการฉีดตามลำดับความจำเป็น (ต่อบุคลากรแนวหน้า) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย วัคซีนที่สั่งมาตามกำหนด คาดว่าประมาณกรกฎาคม ประชาชนทั่วไปก็จะได้ฉีดกัน"
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามถึงกรณีการนำเข้าวัคซีนจากผู้ผลิตต่างชาติที่ยังคงไม่มีความแน่นอน ซึ่งวัคซีนถือเป็นคำตอบที่จะนำพาประเทศพ้นวิกฤตระบาด เรื่องนี้ ผู้นำหญิงไต้หวันตอบว่า ท่ามกลางอุปสรรคด้านการนำเข้าและจัดหาวัคซีน เธอขอขอบคุณพันธมิตรใกล้ชิดอย่างญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่ช่วยเหลือจัดหาและส่งมอบวัคซีนแก่ไต้หวันในเบื้องต้น แต่ทว่าวัคซีนที่ได้รับบริจาคดังกล่าว ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับแจกจ่ายประชาชนส่วนใหญ่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
นางไช่อิงเหวิน อธิบายว่า หลายคนตั้งคำถามมากมายว่า มีการดำเนินการมากพอสำหรับการป้องกันระบาดรอบนี้หรือไม่ วัคซีนเพียงพอหรือไม่ เรา (รัฐบาล) ได้จัดซื้อวัคซีนจำนวน 20 ล้านโดสอย่างต่อเนื่อง สัญญาจัดหาวัคซีนอยู่ในสถานะกำลังผลิต เพราะต้องใช้เวลาและมีความรีบเร่งรวมถึงความต้องการเป็นอย่างมาก บริษัทยารายใหญ่ๆ จัดส่งให้น้อยกว่าข้อกำหนดของการสั่งซื้อในหลายประเทศทั่วโลก เพราะทุกคนต่างเร่งรีบใช้ วัคซีนมีระยะเวลาหมดอายุ ประกอบกับคุณสมบัติวัคซีนและความจำเป็นที่ต้องซื้อเป็นชุด ๆ ปัญหาคือวัคซีนที่ควรจะมาถึงในเดือนมิถุนายนนี้ แต่กลับยังไม่มา
ผู้นำหญิงไต้หวันกล่าวถึงกรณีการสั่งซื้อวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้า ว่า
"เนื่องจากวัคซีน แอสตร้าฯ ประเทศไทยเป็นฐานผลิตหลัก , แต่ประเทศไทยมีการระบาดที่รุนแรง จึงให้ความสำคัญแก่ประเทศไทยได้รับวัคซีนก่อน"
ไม่ต่างกับผู้ผลิตวัคซีนแอสตร้าฯ อีกรายที่ประเทศอินเดียภายใต้สถาบันวิจัยเซรุ่มแห่งอินเดียต่อก็พบปัญหาการจัดส่งวัคซีนแอสตร้าป้อนโครงการโคแวกซ์ล่าช้าเช่นกัน นางไช่กล่าวว่า "อินเดียก็กำลังมีปัญหาร้ายแรงไม่ต่างกัน ดังนั้นด้วยปัจจัยด้านอุปทานที่ตึงตัวในเดือนมิถุนายนเราจึงรีบติดต่อสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นโดยด่วนหลังจากการพูดคุยในเดือนมิถุนายน เพื่อความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในเบื้องต้น และไต้หวันกำลังจะได้รับวัคซีน 2 ล้านโดส และก็เตรียมซื้อจากผู้ผลิตรายอื่นด้วย คาดว่าปลายมิถุนายน-กรกฎาคมจะมีเข้าวัคซีนเข้ามาอีก หากทุกอย่างไม่มีอะไรผิดพลาดและเป็นไปตามแผน เดือนกรกฎาคมประชาชนทั่วไปก็จะได้เริ่มฉีดกัน
อนึ่ง สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตจากโรงงานในไทยนั้น บริษัทยาแอสตร้าเซนเนก้าซึ่งเป็นผู้พัฒนาวัคซีนจะเป็นผู้จัดสรรวัคซีนจากโรงงานต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกให้กับแต่ละชาติเอง โดยไต้หวันตกลงซื้อวัคซีนกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าโดยตรง