จะพาไปรู้จักกับ “ด่านลอย” ซึ่งถือว่าเป็น “ด่านเถื่อน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แตกต่างจากด่านที่ตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร
เริ่มจากด่านถูกกฎหมายก่อน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยจัดทำบันทึกข้อความเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ด่านที่ถูกกฎหมายของตำรวจมี 3 ประเภทเท่านั้น คือ
- ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
- จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที การตั้งด่านตรวจประเภทนี้ต้องได้รับอนุมัติจากนายตำรวจระดับผู้บังคับการ (ยศ พลตำรวจตรี) ขึ้นไป
- จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว โดยการตั้งด่านประเภทนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่นั้นๆ
ส่วนด่านลอย หรือที่เรียกกันว่า “ด่านจ๊ะเอ๋” เพราะตำรวจมักหลบอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ข้างทาง แล้วกระโดดออกมาจับกุมหรือสกัดรถนั้น เป็นด่านที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีลักษณะลักลอบตั้งตามทางแยก ทางโค้ง ทางเปลี่ยว // ตำรวจที่ตั้งด่านประเภทนี้มักหลบหลังต้นไม้ พุ่มไม้ เสาไฟฟ้า หรือแม้แต่มุมตึก // โดยเป็นการตั้งที่ไม่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา // ไม่มีป้ายสัญญาณหยุดตรวจก่อนถึงด่าน // และไม่มีป้ายหรือป้ายไฟแสดงชื่อนายตำรวจที่รับผิดชอบด่าน
ปัญหาของด่านลอย นอกจากการรีดไถ หรือเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบแล้ว ยังเสี่ยงเกิดอันตรายบนท้องถนน เพราะการที่ตำรวจกระโดดออกมาจากข้างทางอย่างกระชั้นชิดเพื่อสกัดรถหรือจับกุม จนเรียกกันว่าด่าน “จ๊ะเอ๋” นั้น หลายๆ ครั้งทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตามมา ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และตัวตำรวจเอง
รายการ “คลื่นชุมชนถนนปลอดภัย”
- วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561
- เวลา 19.30-20.00 น.
ผู้ดำเนินรายการ
- นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ
- นางสาวอรอุมา สิงห์กวาง
ผู้ผลิตรายการ
- สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ
- สมาคมสื่อช่อสะอาด
ห้องบันทึกเสียง
- สถานีวิทยุปากเกร็ด FM 93.75 MHz จังหวัดนนทบุรี
ผู้ควบคุมรายการ
- นายสุทนต์ กล้าการขาย
- นางอิสรีย์ กล้าการขาย
รูปแบบรายการ
- รายการข่าวสารประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อความปลอดภัยทางถนน สัดส่วน 25% สำหรับผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556
- ความยาว 30 นาที
วิธีการดำเนินงาน
งบประมาณสนับสนุน
ช่องทางการเชื่อมโยงสัญญาณถ่ายทอดเสียง
- กดลิ้งก์ดาวน์โหลดรายการล่วงหน้าเป็นไฟล์.MP3
- รับลิ้งก์สัญญานถ่ายทอดสดผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 128Kb/s http://radio1.chorsaard.net:9999
- เว็บไซต์สมาคมสื่อช่อสะอาด www.chorsaard.or.th หรือ www.chorsaard.net
- เว็บไซต์สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ www.accident.or.th
ช่องทางการส่งกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
- สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 421 สถานี
ฟังรายการย้อนหลังผ่านยูทูป ช่องวีดีโอ chorsaard