ศาลปกครองกลาง สั่ง กสทช. ยกเลิกหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555

Last updated: 7 พ.ค. 2564  |  6618 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศาลปกครองกลาง สั่ง กสทช. ยกเลิกหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้เพิกถอนข้อ ๘ วรรคห้า ของประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕

เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ศาลปกครองกลาง อ่านคำสั่ง คดีหมายเลขดำที่ ๓๑๔๐/๒๕๕๕ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๕๒/๒๕๕๘ เรื่องที่นายธงชัย แก้วรัมย์ ที่ ๑ นางปัทมา มหานาม ที่ ๒ นางวรรณภา แสนวา ที่ ๓ นายวีระ สดมพฤกษ์ ที่ ๔ นายธนกฤต นาคบรรจง ที่ ๕ (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการที่หน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ ทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือ เสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากประกาศดังกล่าวเป็นการจํากัดสิทธิและปิดกั้น

ขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งดังต่อไปนี้

๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปิดลงทะเบียนประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทธุรกิจ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าหรือผู้ที่มิได้ลงทะเบียนประเภทชุมชนชั่วคราวหรือมิได้ขยายระยะเวลาไว้

๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับการจับกุมหรือดําเนินคดีซึ่งอาศัยเหตุโดยอ้างกฎเกณฑ์อันมิชอบจนกว่าจะมีรูปแบบขั้นตอนอันถูกต้อง

๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีหยุดการกระทําอันเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีทั้งห้าและต่อสาธารณะ หรือต่อองค์การทางศาสนาในการเผยแพร่สารธรรมะผ่านทางด้านสื่อสาร

๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดียกเลิกการกระทําอันมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับผู้ฟ้องคดีทั้งห้าหรือประชาชนผู้ประกอบกิจการเกินสมควร

๕. ให้เพิกถอนหรือหยุดดําเนินการตามประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ จนกว่าจะมีกฎเกณฑ์อันถูกต้องชอบธรรม

ศาลมีคําสั่งกําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒

        ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอํานาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า การฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่ชอบ ด้วยมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากไม่ปรากฏว่าคําฟ้องได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายเพียงพอให้ผู้ถูกฟ้องคดีเข้าใจและสามารถให้การได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลเมื่อพ้นกําหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศ พิพาทใช้บังคับ เพราะประกาศดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ และให้มีผลใช้บังคับในวันถัดไป ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งห้าจะต้องยื่นฟ้องขอให้ เพิกถอนประกาศดังกล่าวภายในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ แต่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดียื่นฟ้อง เป็นคดีนี้ต่อศาลเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ จึงเกินกําหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ตามนัยมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และคดีนี้ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะฟ้องคดี เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามนัยมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าฟ้องว่า หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอบรมหลักสูตรบัตรผู้ประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ดังนั้น ในขณะผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ยื่นฟ้องคดีนี้ ประกาศดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าจึงยังไม่ได้รับความ เดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายจากประกาศดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่ใช่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือ อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาล เนื่องจากแต่เดิมพระราชบัญญัติ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกยกเลิก โดยมาตรา ๓ แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กําหนด ห้ามมิให้ผู้ใดดําเนินการบริการส่งวิทยุกระจายเสียง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต ดังนั้น ผู้ที่จะดําเนินการบริการส่งวิทยุกระจายเสียง หรือประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ แม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการตราและบังคับใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๐ ซึ่งกําหนดให้คลื่นความถี่ เพื่อการส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์ สาธารณะ โดยกําหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระขึ้นเพื่อทําหน้าที่ในการจัดสรร คลื่นความถี่ดังกล่าวและกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกําหนด อันเป็นเหตุให้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อกําหนดการจัดตั้งองค์กรที่ทําหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งการมีผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔๐ และพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ หาได้มีผลเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ หรือ เปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายที่กําหนดให้การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจะต้องได้รับ ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากการที่บทเฉพาะกาล แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวกําหนดให้ในวาระเริ่มแรกที่การคัดเลือกและแต่งตั้ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กสช. ยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ การจัดสรรคลื่นความถี่ การอนุญาต และการกํากับดูแลหรือควบคุมการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง มีอํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย บัญญัติจนถึงวันที่กฎหมายกําหนด แต่ในระหว่างนั้นจะพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติมไม่ได้ นอกจากนี้ แม้ภายหลังจะมีการแต่งตั้ง กสช. แล้ว พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗๘ วรรคหนึ่ง ยังได้บัญญัติให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ การจัดสรรคลื่นความถี่การอนุญาตและการกํากับดูแลหรือการควบคุมการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นอํานาจหน้าที่ของ กสช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ดังนั้น ผู้ใดที่ประสงค์จะดําเนินการบริการส่งวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์จะต้องได้รับ ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาภายหลัง แม้จะมีการใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๗ ซึ่งกําหนดในหลักการเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่น ความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เป็นอย่างเดียวกัน กับมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ กล่าวโดยสรุปคือ คลื่นความถี่ ดังกล่าวเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ และกําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทําหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตและกํากับการใช้งานคลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อันมีหลักการสําคัญในการ กําหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก กสช. และจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ โดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้ยกเลิก พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ หากแต่หลักการ ทางกฎหมายที่สําคัญที่ปรากฏในพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ คือ การกําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์จะต้องได้รับอนุญาตหรือใบอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

        โดยที่การดําเนินบริการส่งวิทยุกระจายเสียงในช่วงแรกจะดําเนินการโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นสําคัญ อันสืบเนื่องมาจากเหตุผลในการใช้คลื่นความถี่ เพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ ประกอบกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐมีความจําเป็น ในการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล หรือการกระจายข่าวสาร หรือเหตุภัยพิบัติไปยังประชาชนในพื้นที่ ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งการดําเนินการเช่นว่านั้นในระยะแรกอาจมีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการโดย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐตลอดเวลา เพื่อเป็นการประกันสิทธิของประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จําเป็น หรือเมื่อมีเหตุการณ์พิเศษที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของ รัฐจะต้องติดต่อสื่อสารกับประชาชนด้วยวิธีการที่รวดเร็วและประหยัด สามารถเข้าถึงประชาชนได้ โดยปราศจากอุปสรรคหรือภาระต้นทุนแก่ประชาชนเกินสมควร หากแต่การดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงของเอกชนผู้ได้รับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา นั้น จะยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับดูแลของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ผ่านข้อกําหนดหรือเงื่อนไขในการ อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา และการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ รวมถึงผู้ได้รับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา ยังคงต้องอยู่ ภายใต้การบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หากแต่โดยที่รัฐ มีแนวความคิดในการปฏิรูปการสื่อสารให้มีความเป็นเสรี ปราศจากการควบคุมและตรวจสอบโดย รัฐ เพื่อเป็นการประกันสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นและสําคัญอันจะเป็น ประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน การศึกษาและการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน จึงได้มีการกําหนดเป็นหลักการสําคัญไว้ในมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเป็นการกําหนดหลักการสําคัญว่า คลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นทรัพยากร สื่อสารของชาติที่ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดสามารถกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือถือสิทธิครอบครอง เพื่อใช้ประโยชน์ได้ตามอําเภอใจ โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระจากการ บังคับบัญชาของฝ่ายบริหารเพื่อทําหน้าที่ในการพิจารณาจัดสรร การอนุญาต รวมตลอดถึงการ กํากับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งการพิจารณาอนุญาตและ กํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด อย่างไรก็ตาม โดยที่การอนุญาตให้มีการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๔ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินการโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือโดยเอกชนผู้ได้รับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา โดยชอบด้วยกฎหมายจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นและได้ดําเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่มาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จะมีผลใช้บังคับ หากจะกําหนดให้ผู้ที่ได้รับการ อนุญาตให้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องยุติการดําเนินการและ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยทันที ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิ โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้ดําเนินบริการส่งวิทยุกระจายเสียง อีกทั้ง ยังส่งผลกระทบต่อประชาชนที่รับฟังรายการที่ดําเนินการโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วย กฎหมายให้ต้องขาดไร้ประโยชน์อันพึงมีพึงได้จากการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การรับรู้การถ่ายทอดเสียงในกิจกรรมพิเศษ หรือแม้แต่การรับฟัง รายการเพลงหรือรายการบันเทิงเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเพื่อความสุนทรีย์ ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๓๕ (๒) และหรือมาตรา ๓๐๕ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงได้บัญญัติเป็นหลักการ เดียวกัน กล่าวคือ การตรากฎหมายว่าด้วยการพิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่ เพื่อการส่งวิทยุกระจายเสียง และการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จะต้องไม่กระทบกระเทือน ถึงสาระสําคัญของการได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาให้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในการตรากฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ รวมถึงการออกกฏ ประกาศ ระเบียบ คําสั่งตามกฎหมายดังกล่าว จะต้องเป็นไป ตามหลักการดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน กล่าวคือ โดยผลของการปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศ หลักเกณฑ์อันเกี่ยวกับการกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะต้อง ไม่กระทบกระเทือนต่อการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่มีผลโดยสมบูรณ์อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับ หรือที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ประกาศใช้ ดังจะเห็นได้จากการที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๔ ได้บัญญัติรับรองสิทธิให้กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ประกอบกิจการกระจายเสียงอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ให้ดําเนินกิจการ หรือประกอบกิจการนั้นได้ต่อไปจนถึงวันที่กําหนดในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ในขณะที่มาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรับรองให้ผู้ที่ได้รับ อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อประกอบ กิจการกระจายเสียงอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ให้มีสิทธิประกอบกิจการกระจายเสียงตามที่ได้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาต่อไปจนกว่าจะอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นสุดลง ด้วยคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากแต่โดยที่คลื่นความถี่ที่สามารถ นํามาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารได้นั้นมีอยู่อย่างจํากัด อีกทั้งมีคุณลักษณะทางเทคนิคที่คลื่น ความถี่ที่สามารถนํามาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารได้มีอยู่อย่างจํากัด อีกทั้งมีคุณลักษณะทาง เทคนิคที่อาจเกิดการรบกวนระหว่างกันได้อย่างรุนแรงและโดยง่าย ซึ่งจะต้องมีการบริหาร จัดการเพื่อให้การใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการในการใช้งานของทุกภาคส่วนได้อย่างสูงสุด โดยปราศจากการรบกวน อย่างรุนแรง ซึ่งเดิมการบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารนั้นจะถูกจํากัด การพิจารณาอนุญาตให้กับเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ เช่น หน่วยงานทางการทหาร ตํารวจ หรือส่วนราชการ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ จนเมื่อมี การตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งมีรากฐานแนวความคิดมุ่งเน้น การปฏิรูปสื่อสารมวลชนให้มีความหลากหลายของประชาชน ประกอบกับได้มีการตรา พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ขึ้น โดยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการกําหนดให้การจัดทําแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และการ อนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะต้องคํานึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสม ระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาค ประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากําไรในทางธุรกิจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ หากแต่โดยที่ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ไม่ได้มีการแต่งตั้ง กสช. เพื่อทําหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตจัดสรรและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่ เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการพิจารณาอนุญาตและ กํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ตามที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ กําหนด ส่งผลให้สิทธิของภาคประชาชนที่จะได้ใช้งานคลื่นความถี่เพื่อการดําเนิน กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่า ด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมยังไม่เกิดผลขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ในขณะเดียวกันภาคประชาชนบางกลุ่มได้ ริเริ่มดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนโดยอ้างสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ตามมาตรา ๓๙ และสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติตามมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หากแต่เป็นการดําเนินการที่ ปราศจากกฎหมายกําหนดหรือรองรับซึ่งสิทธิดังกล่าว อันเป็นการดําเนินการที่ขัดต่อมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่บัญญัติให้การจัดสรรและการ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ จะต้องดําเนินการโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ และตามที่ กฎหมายบัญญัติ ประกอบกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะต้อง ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ และ พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับสืบเนื่องต่อมาภายหลัง จากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกาศใช้ ดังนั้น การริเริ่มจัดตั้ง และการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนของประชาชนแม้จะเป็นการอ้างพื้นฐาน จากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ หากแต่เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอํานาจบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์จะต้องดําเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มประชาชนที่ดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงชุมชนดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการทักท้วงของภาค ประชาสังคมอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จนในท้ายที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการเสนอ เรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีซึ่งมีมติในการประชุม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ และเมื่อ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบต่อมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการลงทะเบียน ของประชาชนเพื่อการจัดตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน ภายใต้หรือในนามของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายในการส่งวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ เพื่อมิให้การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีลักษณะของการจัดสรรคลื่นความถี่ และการอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเพิ่มเติม อันจะเป็นการขัดต่อมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมีการกําหนดเงื่อนไขทางเทคนิค ในการส่งวิทยุกระจายเสียง การจัดรายการและเนื้อหาการออกอากาศรายการต่างๆ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้มีผลจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสช. แล้วเสร็จ

        โดยการดําเนินการจัดตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนในระยะแรกเริ่มนั้น เป็นไปในลักษณะของการดําเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะและปราศจากการแสวงหา กําไร จึงยังไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากนัก หากแต่ต่อมาภายหลัง เมื่อได้มีการ ผ่อนปรนให้จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนสามารถมีโฆษณาได้ 5 นาทีต่อชั่วโมง เพื่อเป็น การส่งเสริมให้สถานีวิทยุกระจายเสียงมีรายได้เพียงพอต่อการดําเนินกิจการสถานีได้อย่าง ต่อเนื่อง โดยได้มีแนวคิดที่จะจํากัดมิให้เป็นการโฆษณาในเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นการจูงใจมิให้ ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงดําเนินการส่งวิทยุกระจายเสียงด้วยกําลังส่งสูงเพื่อเป็น การเพิ่มคุณภาพของสัญญาณวิทยุกระจายเสียงให้มีความคมชัดและแพร่กระจายไปยังพื้นที่ ได้เป็นบริเวณกว้าง หากแต่ข้อจํากัดในการตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลให้การโฆษณาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงไม่ได้เป็นไปเพียงเท่าที่จําเป็น หรือไม่มี วัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ และประชาชนมีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นจํานวนมาก และทั่วประเทศโดยปราศจากการควบคุมหรือกํากับดูแลการดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงดังกล่าวให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด ก่อให้เกิด ปัญหาทั้งในส่วนของการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อการส่งวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเดิมจะมีการ กําหนดให้มีช่องว่างระหว่างคลื่นความถี่แต่ละช่องเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรบกวนคลื่น ความถี่ระหว่างกัน หากแต่โดยที่คลื่นความถี่ตามแผนที่กําหนดไว้เดิมนั้น ไม่เพียงพอต่อการ ใช้เพื่อการส่งออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนได้ ผู้ดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงชุมชนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้คลื่นความถี่ในส่วนที่เป็นช่องว่างที่ถูกกําหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรบกวนของคลื่นความถี่ระหว่างกัน ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมจะมีการกําหนดให้ใช้คลื่นความถี่ซึ่งลงท้ายเลข ความถี่ด้วย .๐ หรือ .๕ จะมีการแทรกหรือการรบกวนจากคลื่นความถี่ที่ลงท้ายด้วย .๒๕ หรือ .๗๕ ซึ่งส่งออกมาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนในบริเวณใกล้เคียงด้วยกําลังส่งในระดับสูงเสมอ ส่งผลให้คุณภาพในการรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงของแต่ละคลื่นความถี่ ทั้งคลื่นความถี่เดิมและคลื่นความถี่ที่เกิดจากการแทรกตัวในช่องว่างของคลื่นความถี่ตามแผนความถี่ที่กำหนดต่างไม่มีคุณภาพ ไม่ชัดเจน ซึ่งหากผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงประสงค์จะให้การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงของตนมีความชัดเจน จะต้องเพิ่มกำลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของตน ส่งผลต่อเนื่องก่อให้เกิดการแพร่คลื่นความถี่แปลกปลอม และนำไปสู่การรบกวนคลื่นความถี่ ในกิจการอื่นอย่างรุนแรง อาทิเช่น การรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินทั้งในส่วนของการติดต่อสื่อสารระหว่างหอบังคับการบินและนักบินในขณะทำการบิน และระบบการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อนำร่องการลงจอดอัตโนมัติของอากาศยาน ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่ทัศนะวิสัยในบริเวณท่าอากาศยานไม่เหมาะสมต่อการนำเครื่องลงจอดโดยอาศัยการควบคุมของนักบินซึ่งการรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินนี้จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินอากาศยาน และที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต่างได้รับเรื่องร้องเรียนการรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินจากสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการ ใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าว ด้วยจำนวนของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่เพิ่มมากขึ้นและปราศจากการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ส่งผลให้รายการที่มีการออกอากาศ ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวในบางครั้งจะเป็นรายการ ที่มีเนื้อหารายการที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น การโฆษณาขายยาหรือเครื่องสำอางที่ไม่ผ่านการอนุญาตให้เผยแพร์โฆษณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระเป็นการมอมเมาผู้รับฟังรายการให้หลงเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องเหนือธรรมชาติ หรือความเชื่องมงาย ต่อมาเมื่อได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตให้กับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ซึ่งจะมีอายุใบอนุญาตไม่เกิน ๑ ปี โดย กทช. ในขณะนั้น ได้ออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการ บริการชุมชนให้กับผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียง ชุมชน) นอกจากนี้ ด้วยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏเป็นการทั่วไปว่า ได้มีผู้ดําเนินการ ในลักษณะของวิทยุกระจายเสียงชุมชน ซึ่งดําเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจํานวนมาก และกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อบริหารจัดการกลุ่มผู้ดําเนินกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงที่ชอบด้วยกฎหมายโดยการยื่นคําขอและเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีการกําหนดมาตรการ บริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านและเป็นการแก้ไขสภาวะการดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงกําหนดให้ผู้ที่ได้มีการ ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้ดําเนินการในลักษณะการให้บริการ วิทยุกระจายเสียงชุมชนอยู่ก่อนวันที่ที่ประกาศฉบับดังกล่าวใช้บังคับและมีคุณสมบัติ รวมถึง ความประสงค์ที่จะเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนตามประกาศ ฉบับดังกล่าว ให้แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศ ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และเมื่อแจ้งความประสงค์แล้วจะได้รับสิทธิในการทดลอง ออกอากาศในลักษณะชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ กทช. ประกาศกําหนด รวมถึงการดําเนินการเพื่อให้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นไป ตามมาตรฐานทางเทคนิคที่กําหนด และการดําเนินการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาต เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ เพื่อเป็น การดําเนินการและเตรียมความพร้อมในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภายใต้ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์กําหนด และเพื่อกํากับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุกระจายเสียง ชุมชนดังกล่าวมิให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงทั้งต่อการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และต่อการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการอื่นๆ เช่น กิจการวิทยุการบิน เป็นต้น โดยภายหลัง จากที่ได้มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในเรื่อง ดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ปรากฏว่ามีผู้แสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาต และ แสดงความประสงค์ขอรับสิทธิในการทดลองออกอากาศตามข้อ ๑๘ ของประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบ กิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จํานวนมากถึง ๗,๐๐๙ สถานี และได้รับสิทธิและขยายระยะเวลาในการทดลองออกอากาศโดยต่อเนื่องจนถึงเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเป็นผู้มีสิทธิในการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงหรือได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงอยู่โดยชอบด้วย กฎหมาย และแม้จะไม่มีประกาศที่พิพาทก็ไม่ได้ทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้รับสิทธิในการ ประกอบกิจการกระจายเสียงแต่อย่างใด

        ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ประกาศพิพาททําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากต้องถูกดําเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ซึ่งเครื่องวิทยุ คมนาคมและใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต จึงเป็น การกระทําที่อาจเป็นความผิดอาญาตามมาตรา ๒๓ ประกอบมาตรา 5 และมาตรา ๑๑ แห่ง พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตํารวจจะต้องดําเนินการ สืบสวนสอบสวน จับกุม ยึดและอายัดสิ่งของที่ใช้ในการกระทําความผิดเพื่อดําเนินการตาม กฎหมายต่อไป ซึ่งการดําเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาดังกล่าวย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หาได้สืบเนื่องจากการมีผลใช้บังคับของประกาศพิพาท แต่อย่างใด อีกทั้งไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่จะสั่งระงับหรือยกเว้น การดําเนินคดีอาญากับผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ และจากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายตามนัยมาตรา ๔๒ แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

        ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มีอํานาจในการออกประกาศ พิพาท อีกทั้งประกาศดังกล่าวมีผลเป็นการจํากัดสิทธิในการประกอบกิจการของผู้ฟ้องคดี และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดําเนินกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียงจํานวน 5 สถานี โดยไม่อยู่ในบังคับของประกาศพิพาท รวมทั้งการ กําหนดผลของการปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม พิจารณาคําขอ ซึ่งเป็นการดําเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากค่าธรรมเนียม ดังกล่าวจะต้องมีการเรียกเก็บเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า มาตรา ๒๗ (๓) (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดลักษณะและประเภทของกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการ ใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม การกําหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและ ระหว่างกิจการแต่ละประเภท รวมถึงการพิจารณาอนุญาตและกํากับการประกอบกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณา แล้วเห็นว่า ในช่วงแรกเริ่มที่การจัดทําแผนความถี่วิทยุเพื่อการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากอยู่ในระหว่างขั้นตอนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะต้อง ดําเนินการตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ในการสํารวจและ ตรวจสอบความจําเป็นในการใช้งานคลื่นความถี่ของผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นเหตุให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังไม่อาจกําหนดแผนความถี่วิทยุเพื่อการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อส่งวิทยุกระจายเสียงได้ ตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หากแต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้มีผู้ซึ่งได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศจํานวนมากอันเป็นผลสืบเนื่องจากการดําเนิน มาตรการตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ของ กทช. ซึ่งจะครบกําหนดระยะเวลาในการทดลองออกอากาศในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ และได้ดําเนินการให้บริการวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนอยู่เป็นการ ทั่วไป หากจะให้ระงับการทดลองออกอากาศสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิด ผลกระทบต่อประชาชนผู้รับฟังรายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวได้ อีกทางหนึ่ง จะเป็นการก่อให้เกิดสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจที่จะควบคุม มิให้มีการแพร่คลื่นความถี่เพื่อรบกวนการใช้คลื่นความถี่ของกิจการอื่น รวมถึงการควบคุม คุณภาพรายการที่ออกอากาศได้ อันจะส่งผลให้การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงของ ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่วุ่นวาย การใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงควรที่จะกําหนดมาตรการชั่วคราวในการกํากับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการกํากับดูแลภายใต้ ระบบการออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงตามลักษณะและประเภทที่ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนด เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของการรับฟังวิทยุกระจายเสียงของประชาชนทั้งในด้าน คุณภาพทางเทคนิค คุณภาพของเนื้อหารายการ รวมถึงการรักษาและคุ้มครองไว้ซึ่งสิทธิ ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน และการใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงและ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดําเนินการสื่อมวลชน อันเป็นการดําเนินการที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพิจารณา อนุญาตและกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามที่กําหนด ในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ประกาศในราช กิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการในการอนุญาต รวมถึงเงื่อนไข ในการกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ จึงได้อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและกรอบในการออกประกาศพิพาท เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั้งในประเภทบริการสาธารณะ บริการชุมชน และบริการทางธุรกิจ ซึ่งภายหลังจากที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบสาระสําคัญของร่างประกาศพิพาท ซึ่งได้ มีการรับฟังความเห็นสาธารณะตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว จึงได้มอบหมายให้พันเอก นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในการลงนามในประกาศ พิพาท ซึ่งได้มีการนําประกาศพิพาทประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ เพื่อให้มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปตามมาตรา ๒๗ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ภายหลังจากที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้มีการโปรดเกล้าแต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ รวมถึงการ จัดตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ที่ ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่น รวมถึง แนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนําไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ โดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กําหนดในตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้าย แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ให้กิจการวิทยุกระจายเสียงซึ่งออกอากาศในระบบ FM มี คลื่นความถี่สําหรับใช้ออกอากาศวิทยุกระจายเสียงจํานวน ๒๐ MHz ตั้งแต่ ๘๘.๐ ถึง ๑๐๘.0 MHz ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้จัดให้มีแผนแม่บทการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการอนุญาตและการกํากับดูแลการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน โดยใน แผนแม่บทการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ มุ่งเน้นการกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อป้องกันการ ผูกขาด หรือลด หรือจํากัดการแข่งขัน รวมถึงป้องกันมิให้มีการครอบงําในลักษณะที่เป็นการ จํากัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเพิ่มความหลากหลายของข้อมูลข่าวสารให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยได้กําหนดให้มีการจัดทํามาตรการ ชั่วคราวก่อนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามบทเฉพาะกาล แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมากกว่าร้อยละ ๕๕ จะต้องเข้าสู่มาตรการชั่วคราวภายใน ๓ ปี และจะต้องมีการพิจารณาออกใบอนุญาตกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ภายใน ๓ ปี นับแต่วันที่แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใช้บังคับ ดังนั้น เพื่อเป็น การดําเนินการตามแนวทางในการอนุญาตและกํากับการใช้งานคลื่นความถี่และการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามที่กําหนดในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และแผนแม่บทการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึง ออกประกาศพิพาทเพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาให้สิทธิในการทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั้งประเภทบริการสาธารณะ บริการชุมชน และบริการ ทางธุรกิจ แก่ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าสู่มาตรการชั่วคราวดังกล่าว ซึ่งจะมีการกําหนดเงื่อนไขทั้งในด้านเทคนิค การจัดทําผังรายการ การควบคุมคุณภาพเนื้อหารายการ การ ดําเนินการเพื่อหารายได้ในการดําเนินกิจการที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมถึงกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกํากับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และกฎหมายว่าด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม ให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองประกอบกิจการได้ปฏิบัติ อันเป็นการเตรียมความพร้อมในภาคปฏิบัติจริงก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการกํากับดูแล โดยการออกใบอนุญาตตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ด้วยจํานวนคลื่นความถี่ที่กําหนดให้สําหรับการใช้ส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ เอฟ เอ็ม จํานวน ๒๐ MHz ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและข้อบังคับของสหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศนั้น เป็นช่วงความถี่ที่มีอยู่อย่างจํากัด หากไม่มีการควบคุม ปริมาณการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าว ย่อมที่จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการให้บริการกิจการ วิทยุกระจายเสียง อันสืบเนื่องมาจากการเพิ่มจํานวนสถานีวิทยุกระจายเสียง ไม่อาจที่จะ ควบคุมดูแลให้เกิดการใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ และการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพดังเช่นที่เป็นมาในอดีต ดังนั้น จึงควรจะต้องมีการควบคุม จํานวนสถานีวิทยุกระจายเสียงให้มีความเหมาะสมกับปริมาณคลื่นความถี่ที่มีอยู่กล่าวคือ ในแต่ละเขตพื้นที่นั้นจะต้องมีจํานวนสถานีวิทยุกระจายเสียงและมีขอบเขตการส่ง วิทยุกระจายเสียงหรือรัศมีการออกอากาศในขอบเขตที่เหมาะสมปราศจากการรบกวนกัน อันจะทําให้การใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่สามารถ ที่จะรับฟังรายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงในเขตพื้นที่ของตนได้อย่างมีคุณภาพมีความ ชัดเจนปราศจากการรบกวนของคลื่นความถี่ ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง ในการกําหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อใช้กับผู้ประกอบการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ ตามที่ กําหนดในแผนแม่บทการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงได้กําหนดให้ผู้มีสิทธิยื่นคําขอเพื่อทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศ พิพาท แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการ ชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว กลุ่มที่ ๒ ผู้ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวตามประกาศคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ไว้ ก่อนวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ แต่ยังไม่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และกลุ่มที่ ๓ ผู้ที่ได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงอันเนื่องมาจากเป็นผู้แจ้งความ ประสงค์ไว้ตามข้อ ๑๘ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียง ชุมชน) ซึ่งประกาศพิพาทเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวที่กําหนดขึ้นภายใต้ขอบเขตอํานาจ หน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดเพื่อกํากับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ของสถานี วิทยุกระจายเสียงที่ได้รับสิทธิในการดําเนินกิจการอันเนื่องมาจากการดําเนินการตามบท เฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เท่านั้น หาได้เป็นการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียง หรือหลักเกณฑ์เพื่อการพิจารณาอนุญาต ให้ประกอบกิจการกระจายเสียงซึ่งได้มีการออกประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๕

        ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า ประกาศพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก เมื่อได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แล้ว จะต้องถือเป็นการอนุญาตให้ประกอบ กิจการกระจายเสียงและเป็นการอนุญาตทั้งปวงอันเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่จะต้องใช้ ในการส่งวิทยุกระจายเสียง อีกทั้งการกําหนดให้ต้องมีการชําระค่าธรรมเนียมเมื่อยื่นคํา ขอรับสิทธิในการทดลองประกอบกิจการตามอัตราที่กําหนดในภาคผนวกนั้น เป็นการไม่ ชอบด้วยมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้การยื่นคําขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นการยื่นคําขอ อนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อนุญาตให้ ใช้คลื่นความถี่แล้ว ให้ถือว่าอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตาม กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และให้ถือว่าได้รับ ใบอนุญาตให้มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วย วิทยุคมนาคมด้วย ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ระบุไว้ในคําขอ อนุญาต ซึ่งในกรณีดังกล่าว หมายความว่า ในกรณีที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แล้วให้ถือว่า ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ รวมถึงการได้รับอนุญาตให้มีใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุ คมนาคมหรือการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม เช่น การชําระค่าธรรมเนียมที่ เกี่ยวข้อง เป็นต้น หากแต่โดยมีประกาศพิพาทเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวที่กําหนดขึ้น เพื่อการบริหารจัดการการใช้งานคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับสิทธิในการ ทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ เท่านั้น หาใช่เป็นการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ งานคลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือการอนุญาตให้ประกอบกิจการ กระจายเสียงแต่อย่างใด ดังนั้น การที่ประกาศพิพาทกําหนดให้ผู้ที่ได้รับสิทธิในการทดลอง ประกอบกิจการยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมในการยื่นคําขอรับ ใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อการทดลอง ประกอบกิจการกระจายเสียงนั้นจึงไม่เป็นการขัดต่อมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แต่อย่างใด อนึ่ง โดยที่ประกาศพิพาทเป็นมาตรการทาง กฎหมายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนดขึ้นเพื่อการกํากับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพตามความในมาตรา ๒๗ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยประกาศพิพาทได้กําหนดให้ผู้ยื่นคําขอรับสิทธิในการ ทดลองประกอบกิจการจะต้องดําเนินการยื่นคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และ จะต้องชําระค่าธรรมเนียมพิจารณาคําขอและค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ยื่นคําขอซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นการเรียกเก็บเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ พิจารณาเอกสารคําขอของผู้ทดลองประกอบกิจการ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการกํากับดูแล การใช้งานคลื่นความถี่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง โดยเมื่อได้พิจารณาคําขอและเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องแล้ว หากผู้ยื่นคําขอเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและได้ยื่นเอกสารครบถ้วนแล้ว จะได้รับการแจ้งสิทธิในการทดลองประกอบกิจการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มอบหมายโดยจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีกแต่อย่างใด และในกรณีที่ผู้ยื่น คําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศพิพาทรายใดที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้องหรือยื่นคําขอ ไม่ถูกต้องหรือไม่แนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน พนักงานเจ้าหน้าที่ จะดําเนินการคืนคําขอทดลองประกอบกิจการพรอมเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีการ กําหนดให้มีการคืนค่าธรรมเนียมในการพิจารณาคําขอตามที่ได้ชําระไว้แต่อย่างใด

        ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า การกําหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคําขอทดลอง ประกอบกิจการตามข้อ ๗ ของประกาศพิพาทเป็นการจํากัดสิทธิในการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า มาตรา ๔๓ และ มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ การประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงจึงเป็นการประกอบกิจการที่ผู้ประสงค์จะประกอบการจะต้องได้รับอนุญาต และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพมีความเป็นธรรมและมีการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการที่จะได้รับบริการ ที่มีคุณภาพและเหมาะสม ประกอบกับข้อจํากัดทางด้านเทคนิคในการใช้งานคลื่นความถี่ที่มีอยู่ อย่างจํากัดซึ่งจะต้องมีการพิจารณา การใช้งานให้มีความเหมาะสมและเกิดการรบกวนให้ น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดําเนินการได้ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่อาจที่จะกําหนดให้ ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงทุกรายที่ประสงค์จะทดลองประกอบกิจการสามารถที่จะเข้าสู่ กระบวนการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาของการใช้ มาตรการชั่วคราวก่อนการเปลี่ยนไปสู่การกํากับดูแลผ่านระบบใบอนุญาตตามกฎหมาย เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาการเพิ่มจํานวนของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีมากกว่าปริมาณ ของคลื่นความถี่ที่มีอยู่ อันจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ อย่างรุนแรง และก่อให้เกิดการใช้งานคลื่นความถี่อย่างไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงผลกระทบ ต่อคุณภาพในการรับฟังรายการต่างๆ ของประชาชน เช่นที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ดังนั้น ประกาศพิพาทจึงไม่เป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบการ อันจะเป็น การขัดหรือแย้งกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ตามที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด อนึ่ง ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าทราบว่า จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง ประเภทบริการทางธุรกิจ หากแต่เมื่อประกาศพิพาทมีผลใช้บังคับโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าสามารถแจ้งความประสงค์หรือลงทะเบียนเพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจได้ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ตรวจพิจารณาข้อเท็จจริงในคําฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า รวมถึงเอกสารประกอบคําฟ้องโดยละเอียดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีเอกสารหรือหลักฐานใดที่ยืนยันข้อกล่าวอ้าง ของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าดังกล่าว

        สําหรับสถานีวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามที่ผู้ฟ้องคดีอ้างถึง คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. ซึ่งเดิมการดําเนินกิจการของ สถานีวิทยุดังกล่าวเป็นการดําเนินการของกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งต่อมาภายหลังจากที่มี การแต่งตั้ง กทช. แล้ว มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของ กรมไปรษณีย์โทรเลขไปเป็นของสํานักงาน กทช. ดังนั้น กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. ของกรมไปรษณีย์โทรเลขจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินของสํานักงาน กทช. โดยผล แห่งกฎหมาย ซึ่งต่อมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน กทช. ที่มีอยู่ไปเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังนั้น กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. จึงมาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ โดยผลของกฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อรับโอนกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว มาแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดําเนินการบํารุงรักษาและ ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. เป็นกิจการที่ดําเนินการอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. ต่อไปจนถึงวันที่กําหนดในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ในการดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. มาโดยผลของกฎหมาย จึงย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ แจ้งการใช้งานคลื่นความถี่และความจําเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๒ และ มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้มีการ ดําเนินการแจ้งรายละเอียดและความจําเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนดแล้ว จึงถือว่าได้รับอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จนกว่าจะถึงกําหนดที่ต้องคืน คลื่นความถี่ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนด ดังนั้น การดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียง ๑ ปณ. ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นการดําเนินการตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย และไม่อยู่ในบังคับของประกาศที่พิพาทเช่นเดียวกับผู้ประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงรายเดิม

        ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ประกาศบัตรผู้ประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกําหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรมที่จะต้องสําเร็จการศึกษาในสาขาวิชา สื่อสารมวลชนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรม และการทดสอบ อันเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น และก่อให้เกิดภาระเกินสมควร นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า ตามมาตรา ๒๗ (5) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้อํานาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในการอนุญาตและกํากับดูแล การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ถือเป็นสื่อสารมวลชนที่สามารถนําพาข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้อย่าง แพร่หลาย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับชมรายการในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ บุคคลที่มีบทบาทสําคัญนอกจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์แล้ว ผู้จัดรายการ ผู้ผลิตรายการ รวมถึงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง จึงควรที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถให้บริการรายการ ผลิตรายการ หรือ จัดรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเห็นสมควรที่จะกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดอบรมในเรื่อง ดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถที่จะนํา ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเหมาะสม และ มีประสิทธิภาพ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงได้ออกประกาศบัตรผู้ประกาศ และประกาศในราช กิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งประกาศดังกล่าวมีสาระสําคัญเป็น การกําหนดกรอบการดําเนินการจัดอบรมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้ผู้ที่มีความสนใจและประสงค์จะเข้ารับการอบรมของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพเพียงพอต่อการที่จะส่งผลให้การ อบรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพในการ ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ โดยมิได้กําหนดหรือบังคับให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ทุกรายจะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว หรือจะต้องเป็นผู้ได้รับบัตรผู้ประกาศแต่อย่างใด โดยในการจัดอบรมในหลักสูตรดังกล่าว หน่วยงานที่จะขอจัดย่อมมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็น หน่วยงานจัดอบรมหาก ประสงค์จะเรียกเก็บจากผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องเรียกเก็บในอัตราที่เหมาะสม แต่ต้อง ไม่เกินกว่าที่กําหนดในภาคผนวกของประกาศฉบับนี้ ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ในการออก ประกาศบัตรผู้ประกาศจึงมีความจําเป็นที่จะต้องกําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สามารถเรียก เก็บค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท

        ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าคัดค้านคําให้การว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ชี้แจงรายละเอียดแห่ง ความเดือดร้อนเสียหายที่ได้รับจากการกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นลําดับขั้นตอน อย่างครบถ้วนชัดเจน พร้อมทั้งได้แนบเอกสารหลักฐานสนับสนุนทั้งประเด็นปัญหา ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และคดีนี้เป็นความเดือดร้อนสาธารณะที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน โดยผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่ง การฟ้องคดีตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และแม้ในวันที่ยื่นฟ้องคดีนี้ประกาศ เรื่อง การอบรมและทดสอบ เพื่อรับบัตรผู้ประกาศยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ประกาศแจ้งและได้นําร่าง ประกาศดังกล่าวออกแสดงต่อสาธารณะว่าจะใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในประกาศดังกล่าว เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งห้าพิจารณาร่างประกาศดังกล่าวแล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในประกาศฉบับนี้เป็นการจํากัดสิทธิหรือสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น หรือสร้างภาระให้เกิด กับประชาชนเกินสมควร จึงนําคดีมาฟ้องต่อศาล กรณีนี้จึงเข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ามิใช่ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจึงไม่มีสิทธินําคดีมาฟ้องต่อศาล นั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า เห็นว่า ไม่ปรากฏข้อโต้แย้งในคําให้การมาหักล้างประเด็นนี้ให้สิ้นกระแสความ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองมีภาระต้องพิสูจน์ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ และเมื่อการปฏิบัติหน้าที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะแก้ไขอย่างไร และเหตุที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ายังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเนื่องจาก ติดเงื่อนไขจากหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกําหนด และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดียกเลิกประกาศ ฉบับเดิม และนําประกาศที่พิพาทมาใช้บังคับ ทําให้ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ตามประกาศ ฉบับเดิมเสียโอกาสที่จะลงทะเบียนตามประกาศฉบับนี้ และหมดสิทธิที่จะยื่นคําขออนุญาตเกี่ยวกับการมี ใช้ และจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมด้วย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออก ประกาศพิพาท และเหตุแห่งการยื่นฟ้องคดีนี้เนื่องจากผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกําหนด และไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกลับโยนความรับผิดชอบให้กับฝ่ายผู้ฟ้องคดีทั้งห้าว่าไม่มีใบอนุญาต ทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ประกาศแผนแม่บทมาบังคับใช้เป็นระยะเวลานานพอสมควรที่จะ กําหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขอันถูกต้องตามกฎหมายมาบังคับใช้ได้แล้ว และผู้ฟ้องคดีทั้งห้า เห็นว่า การทดลองออกอากาศก็คือการใช้คลื่นความถี่วิธีหนึ่ง เพราะเหตุใดจึงไม่จัดสรรคลื่น ความถี่ให้กับผู้ทดลองออกอากาศให้ถูกต้อง และเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงอาจจะได้รับการทดลองออกอากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่ กฎหมายกําหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงมีอายุไม่เกินเจ็ดปี ซึ่งค่าธรรมเนียม ในการประกอบกิจการก็จะตกเป็นภาระกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรณีที่ ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่า กรณีนี้เป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การกํากับดูแลภายใต้ระบบการ ออกใบอนุญาต นั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า การเตรียมความพร้อมดังกล่าวมิใช่การกําหนด หลักเกณฑ์เพื่อกีดกันผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงให้ไม่มีโอกาสประกอบ กิจการดังกล่าว และหากไม่มีการกําหนดกฎเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามที่ กฎหมายบัญญัติให้ชัดเจน เท่ากับที่ผ่านมาคลื่นความถี่ยังไม่ได้รับการจัดสรร และหากมี ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่มีเพียง ใบอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการเท่านั้น แล้วมีผู้มาขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ในภายหลัง ในช่วงที่มีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร และจะมีหลักประกันให้ ผู้ประกอบการใช้คลื่นความถี่อยู่ก่อนอย่างไร และหากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองออกอากาศ ไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่นั้นได้ จะใช้คลื่นความถี่ต่อไปได้หรือไม่ รวมทั้งปัญหาของผู้ที่ รอการพิจารณาอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการ ซึ่งจะเป็นปัญหาไม่จบสิ้น ซึ่งในการนี้ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และนายธราธร รัตนนฤมิตศร นักวิชาการที่ร่วมยกร่าง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ความเห็นไว้ว่า คลื่นความถี่เป็น ทรัพยากรของชาติที่ใช้ได้โดยไม่หมดสิ้น แต่มีอยู่อย่างจํากัดในแต่ละช่วงเวลา การมีอย่าง จํากัดของคลื่นความถี่ หมายถึง การที่ประมาณการใช้คลื่นความถี่ถูกจํากัดตามช่วงเวลา สถานที่ และกําลังส่งซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีปริมาณทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ GHz ในปัจจุบันสามารถใช้คลื่นความถี่ได้ ๖๐ GHz ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยี คาดว่าในอนาคตจะสามารถใช้คลื่นความถี่ได้ถึง ๓๐๐ GHz ซึ่งการบริหารคลื่นความถี่ประกอบด้วย ๑) การกําหนดย่านความถี่ เช่น การจัดทําผังคลื่นความถี่ ๒) การประกาศกฏเกณฑ์การ บริหารคลื่นความถี่ เช่น การใช้คลื่นความถี่ร่วม หรือการใช้คลื่นความถี่ ๓) การจัดสรร คลื่นความถี่แก่ผู้ใช้แต่ละรายโดยการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามย่านความถี่ที่ กําหนด เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า ประกาศพิพาทมิใช่ มาตรการชั่วคราวที่กําหนดขึ้นตามอํานาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองยอมรับว่า มิใช่การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง หรือหลักเกณฑ์เพื่อการพิจารณาอนุญาตให้ ประกอบกิจการกระจายเสียง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจบริหารคลื่น ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเป็นไปตามหลักการที่กฎหมายกําหนด ประกาศที่พิพาท จึงออกโดยไม่มีกฎหมายรองรับและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มีอํานาจออกประกาศฉบับดังกล่าว จึงเป็นการกระทําโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ให้การ โดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตซ้ําซ้อนที่ทําให้เกิดความยุ่งยากกับผู้ประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรณีนี้เป็นผลมาจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามหลักกฎหมาย สําหรับประเด็นเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมค่าพิจารณาคําขอทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง กิจการทางธุรกิจ) จํานวน ๑๐,๗๐๐ บาท ที่ต้องชําระในวันที่ยื่นคําขอ และแม้จะไม่อนุญาตก็จะไม่คืนให้ นั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า เมื่อยังไม่มีการจัดสรรคลื่น ความถี่ในส่วนนี้ จะอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างไร และในกรณี ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามคําขอก็ไม่อาจอ้างได้ว่า เป็นการนําเงินดังกล่าวไปกํากับดูแลการใช้ คลื่นความถี่ของผู้ที่ยื่นคําขอแต่ไม่ได้รับอนุญาต การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงขัดต่อ กฎหมาย สําหรับประเด็นเกี่ยวกับการที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าถูกจํากัดสิทธิในการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง นั้น ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามบันทึกถ้อยคําของนางสาวมณีรัตน์ กําจรกิจการ รักษาการผู้อํานวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ ๓ ที่ให้ถ้อยคําต่อ คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ว่า ก่อนที่จะมีประกาศพิพาท มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตวิทยุชุมชนอย่างแท้จริงเพียง ๒ สถานี คือ วิทยุชุมชนคนแปลงยาว และวิทยุคริสเตียนยะลา และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกีดกันผู้ประกอบกิจการบางกลุ่ม โดยไม่เปิด โอกาสให้ใช้สิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นการจํากัด เสรีภาพเกินจําเป็น และกระทบสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ สําหรับในส่วนของสถานีวิทยุของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นั้น การดําเนินการดังกล่าวเป็นช่องว่างและได้เปรียบในการ ประกอบกิจการเพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นทั้งผู้กํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่ แต่กลับเป็น ผู้ประกอบการใช้คลื่นความถี่เสียเอง อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจะมีการคืนคลื่นความถี่เมื่อใด จึงเป็นการกระทําโดยมิชอบ และในความเป็นจริง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีสถานีวิทยุในโครงข่าย มากกว่า ๑๐ สถานี และมีสถานีที่เกิดขึ้นใหม่รวมอยู่ด้วย ส่วนประเด็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอบรมเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ นั้น การกําหนดให้ผู้ที่เข้าอบรมต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า ๑๘ ปี ถือว่าเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของเยาวชนที่มีอายุต่ํากว่า ๑๘ ปี ในการเข้าถึงสื่อ และมิได้ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนของชาติตั้งแต่เยาว์วัยให้ตระหนักถึงการใช้ภาษาอย่าง ถูกต้อง อีกทั้งผู้เข้าอบรมบางรายยังอยู่ในวัยศึกษาและยังไม่มีรายได้ การกําหนดค่าใช้จ่าย ในการอบรมจึงเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นและก่อให้เกิดภาระเกินสมควร ทั้งที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีรายรับเป็นจํานวนมากที่สามารถนํามาใช้พัฒนาทรัพยากรบุคคลในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าคัดค้านคําให้การในทํานองเดียวกับคําฟ้อง

        ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีของ ศาลปกครองกลางหมายเลขดําที่ ๓๑๓๘/๒๕๕๕ ซึ่งศาลได้ตั้งภาควิชาสาขาวิศวกรรม การบินและอวกาศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จํากัด กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอความเห็นต่อศาล เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงมีคําสั่งให้นําความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีนี้

        ภาควิชาสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ยื่นคําชี้แจงต่อศาล

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ ชี้แจง ว่า บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการของสถานี วิทยุกระจายเสียงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเริ่มเด่นชัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการดําเนินการในลักษณะของธุรกิจเพราะมีการอนุญาตให้มีการโฆษณาได้ ทําให้การขยายตัวของการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งใน ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ ๗,๐๐๐ กว่าสถานี ปัจจุบัน สถานีวิทยุกระจายเสียงที่แจ้งความ ประสงค์เป็นผู้ทดลองออกอากาศชั่วคราวมีมากกว่า ๒,๐๐๐ สถานี หากจะดําเนินการ อนุญาตให้เป็นผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงได้ทุกสถานีหรือให้มากที่สุด และจะไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน จะต้องจํากัดขอบเขตพื้นที่ให้บริการโดยควบคุมกําลัง เครื่องส่งวิทยุ และความสูงของสายอากาศเพื่อให้สามารถใช้ปริมาณคลื่นความถี่ที่ใช้ในย่าน การส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM ที่มีเพียง ๒๐ MHz สามารถแบ่งช่องความถี่ในการ ออกอากาศได้ ๘๒ ช่อง ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การ อนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ กําหนดลักษณะทางเทคนิค ให้กําลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของการอนุญาตทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งรวมถึงวิทยุชุมชนต่าง ๆ จะต้องไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ และมีรัศมีการ กระจายเสียงไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร จะก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการ ส่งวิทยุกระจายเสียง และการกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยที่ประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบ กิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นประกาศที่ออกมาใช้บังคับก่อนประกาศที่พิพาท มีข้อกําหนดของเครื่องส่งใช้กําลัง คลื่นพาห์ที่กําหนด (Rated Carries Power) ที่อนุญาตให้ใช้งาน จะต้องมีค่าไม่เกิน ๒๐๐ วัตต์ ดังนั้น สถานีที่ใช้กําลังส่งมากกว่า ๒๐๐ วัตต์ จึงไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายมาก่อนหน้านี้ และ กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกประกาศที่พิพาท ได้กําหนดให้เครื่องส่งใช้กําลังคลื่นพาห์ที่ กําหนดไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ ซึ่งเป็นการเพิ่มกําลังส่งที่ถูกต้องตามกฎหมายให้มากกว่าประกาศ ฉบับเดิม กรณีนี้จึงไม่เกิดผลเสียกับวิทยุชุมชน แต่จะเป็นผลดีในด้านการลดความรุนแรงของ การรบกวนสถานีอื่นๆ ตลอดจนย่านความถี่อื่นๆ โดยเฉพาะย่านความถี่ที่บริษัท วิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จํากัด ใช้งาน โดยที่ประกาศดังกล่าวได้กําหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ รายละเอียดช่องความถี่วิทยุ และมาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่ทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง หลักเกณฑ์ดังกล่าวหากผู้ทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ บังคับใช้กฎหมายอย่าง เข้มงวด จะช่วยให้การใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม โดยจะลดการเกิดคลื่นความถี่รบกวนเข้ามาในย่านความถี่ ใช้งานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด เนื่องจากปัจจุบันสถานี วิทยุกระจายเสียงเลือกความถี่ กําลังส่ง ที่ส่งออกอากาศกันอย่างอิสระ โดยไม่ได้พิจารณาถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือย่านความถี่ของหน่วยงานอื่นที่จะได้รับ ผลกระทบ ดังนั้น การปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวย่อมทําให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน และระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศในการนําเครื่องบินลงสู่ท่าอากาศยานได้อย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ไม่พบการรบกวนจากการส่งกระจายเสียงสถานีวิทยุอื่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภูมิภาคแต่อย่างใด เนื่องจากสถานีของผู้ประกอบการได้พิจารณาการกําหนดความถี่ที่ใช้ งานตามแผนความถี่วิทยุกระจายเสียง ระบบ เอฟ.เอ็ม. ของประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๘ เช่น ช่องความถี่ที่กําหนดในจังหวัดเดียวกัน ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีระยะห่างระหว่างกัน ไม่น้อยกว่าสามช่องความถี่ ให้มีระยะห่างระหว่างช่องข้างเคียงมีค่า ๒๕๐ กิโลเฮิรตซ์ และยกเว้นไม่กําหนดให้ใช้งานซ่องสุดท้ายเนื่องจากเป็นความถี่ปลายย่านซึ่งอาจจะเกิดการ รบกวนความถี่ที่ใช้ในกิจการอื่นในย่านความถี่ถัดไป การดําเนินการดังกล่าวมีผลให้มีช่อง ความถี่ทั้งหมด ๘๐ ช่อง ที่สามารถจัดลงในแผน กําหนดให้กําลังส่งออกอากาศ (ERP) ของ สถานีกระจายเสียงระบบ FM ในต่างจังหวัดมีขนาดไม่เกิน ๔ กิโลวัตต์ ใช้ความสูงของเสา อากาศส่ง ๑๐๐ เมตร และสายอากาศรับ ๑๐ เมตร เหนือระดับพื้นดิน ช่องความถี่ที่อยู่ติดกัน ในกรุงเทพมหานคร อยู่ห่างกัน ๕๐๐ กิโลเฮิรตซ์ (สองช่องความถี่) ค่าความแรงของ สัญญาณที่ต้องการรับฟัง คือ ๑.๕ มิลลิโวลต์/เมตร สําหรับเขตชนบท ๒ มิลลิโวลต์/เมตร สําหรับเขตในเมือง ๕ มิลลิโวลต์/เมตร สําหรับเขตเมืองใหญ่ มีสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด ๓๑๔ สถานี เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของผู้ประกอบการได้รับ อนุญาตให้นําเข้า และผ่านการรับรองมาตรฐาน การติดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นไป ตามมาตรฐาน ดังนั้น เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของผู้ประกอบการรายอื่นจึงไม่ก่อให้เกิด การรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด สําหรับปัญหาการรบกวนในกิจการของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ที่ได้รับ ผลกระทบ เป็นการรบกวนที่มีสาเหตุจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งมีมากกว่า ๗,000 สถานี จากสถิติหนังสือการแจ้งข้อร้องเรียนการรบกวนจากบริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จํากัด ไปยังสํานักงาน กสทช. เมื่อสํานักงาน กสทช. ออกไปค้นหาแล้วมี หนังสือตอบกลับมาพบว่า สาเหตุการรบกวนมาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่เกิดขึ้นใหม่ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด ออกไปค้นหาต้นเหตุ แหล่งที่มาของสัญญาณรบกวนก็พบว่า สาเหตุการรบกวนมาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ เกิดขึ้นใหม่เช่นกัน ซึ่งเครื่องส่งวิทยุของสถานีวิทยุกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบรับรอง มาตรฐานทางเทคนิคและติดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง อีกทั้งไม่ได้พิจารณาการใช้แผน ความถี่วิทยุกระจายเสียง ดังนั้น การไม่ห้ามหรือห้ามผู้ประกอบการรายอื่นจะยังทําให้เกิด ปัญหาเรื่องการใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการกระจายเสียงรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด เนื่องจากปัญหาการรบกวนเกิดจาก สถานีวิทยุกระจายเสียงที่เกิดขึ้นใหม่แทบทั้งสิ้น บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด เห็นว่า ควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้สถานี วิทยุปฏิบัติตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่พิพาท และเนื่องจากในรายละเอียดตาม ประกาศดังกล่าว กําหนดให้ผู้ขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงต้องนํา เครื่องส่งวิทยุเข้าตรวจรับรองมาตรฐานทางเทคนิคเท่านั้น แต่ไม่มีข้อกําหนดในการ ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งระบบของสถานี เช่น การเชื่อมต่อระบบเครื่องส่ง สายส่งกําลัง สายอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบกราวด์ การควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น ตลอดจนกระบวนการ ในการซ่อมบํารุงประจําปี เพื่อให้เครื่องส่งวิทยุของสถานีอยู่ในมาตรฐาน ดังนั้น จึงควร พิจารณาในประเด็นดังกล่าวเพื่อนํามาเป็นข้อบังคับต่อไป และตามประกาศดังกล่าว กําหนดให้ผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงต้องนําเครื่องส่งวิทยุเข้าตรวจรับรอง มาตรฐานทางเทคนิค ในกรณีที่เครื่องส่งวิทยุที่ใช้งานไม่ผ่านมาตรฐานทางเทคนิค ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ ควรระบุให้ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนทราบว่า เครื่องส่งรุ่นใดบ้างที่ผ่านมาตรฐาน โดยให้ ผู้นําเข้าผ่านกระบวนการ Type Approval เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการที่มีทุนทรัพย์ สามารถพิจารณาจัดซื้อจัดหามาใช้งาน โดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวนสถานีอื่น หรือผ่าน ความถี่ที่หน่วยงานอื่นใช้งาน

        กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญชี้แจงว่า กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดี ออกประกาศกําหนดลักษณะทางเทคนิคให้กําลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของการ อนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจะต้องไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ และมีรัศมีการ กระจายเสียงไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร จะก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่ง วิทยุกระจายเสียง และการกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เนื่องจากตามข้อ ๗ ของประกาศดังกล่าว กําหนดให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ผู้ได้รับ อนุญาต หรือผู้ที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ที่มีอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการกําหนด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคําขอ ทดลองประกอบกิจการตามประกาศนี้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการกําหนดกําลังส่งออกอากาศ วิทยุกระจายเสียงไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ และมีรัศมีกระจายเสียงไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร มีความ เหมาะสมสําหรับกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทกิจการบริการชุมชน เพราะเป็นการ ให้บริการชุมชนขนาดเล็ก พื้นที่รัศมีให้บริการไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร และข้อกําหนดตามหลักเกณฑ์ทางเทคนิคตามภาคผนวก ง ก็เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการจัดสรรคลื่น ความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง และการกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อไม่เกิดการรบกวนการกระจายเสียงในพื้นที่บริการวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนผลเสียที่เกิดขึ้นกับวิทยุชุมชนที่ต้องลดกําลังส่ง จะมีวิธีใดที่จะแก้ไขเพื่อไม่ให้กระทบถึง ประโยชน์สาธารณะ นั้น อาจดําเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนในลักษณะเครือข่ายหลายๆ สถานีในพื้นที่ใกล้เคียง ก็จะสามารถเพิ่มเขตบริการวิทยุกระจายเสียง เพิ่มรัศมีการกระจาย เสียงได้มากกว่า ๒๐ กิโลเมตร และวิทยุชุมชนที่ให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะควรจะ ดําเนินการขออนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทกิจการบริการสาธารณะ หรือ ขออนุญาตตามข้อ 4 ของประกาศดังกล่าว ที่กําหนดว่า ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควร เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงบางประเภท เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลหรือประโยชน์สาธารณะอื่นใด คณะกรรมการอาจเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตก็ได้ โดยจะประกาศให้ทราบล่วงหน้า ส่วนการใช้คลื่นความถี่ สําหรับกิจการกระจายเสียง แม้จะใช้ความถี่ย่านความถี่ต่างกัน แต่ก็มีความถี่บางความถี่ที่ใช้ งานความถี่ใกล้เคียงกัน และในกรณีสถานีวิทยุชุมชนกระจายเสียงด้วยกําลังส่งออกอากาศ สูงมาก และอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสนามบินก็จะมีการรบกวนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินได้ ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ภาคผนวก ซ มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสําหรับ การทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเกี่ยวกับการแพร่แปลกปลอม และการแพร่นอกแถบ เป็นการแพร่คลื่นความถี่ที่สายอากาศของเครื่องส่งวิทยุชุมชนซึ่งเป็นความถี่อื่น และเป็นความถี่ ตรงกับคลื่นวิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุการบิน ถ้าเครื่องส่งวิทยุชุมชนออกอากาศกําลังส่งสูงก็ จะมีผลทําให้เกิดคลื่นรบกวนที่มีระดับสัญญาณรบกวนสูงเกินกว่าที่กําหนด ทําให้เกิดการรบกวน คลื่นวิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุการบินได้ ส่วนการที่ไม่ห้ามผู้ประกอบการรายอื่นจะยังทําให้ เกิดปัญหาการใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการกระจายเสียงรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ ในกิจการวิทยุการบิน ในกรณีที่สถานีวิทยุชุมชนกระจายเสียงด้วยกําลังส่งออกอากาศสูงมาก และอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสนามบิน ส่วนการป้องกันการรบกวนคลื่นวิทยุความถี่ในกิจการ วิทยุการบินกระทําได้โดยในการออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้อง กําหนดความถี่ กําลังส่งออกอากาศ และสถานที่ที่ต้องไม่ใกล้กับสนามบิน

        บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญชี้แจงว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีไม่อยู่ในภารกิจและความรับผิดชอบตามวัตถุประสงค์ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) จึงไม่ได้ชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นตามที่ศาลมีคําสั่ง

        กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญชี้แจงว่า การที่ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ กําหนดลักษณะทางเทคนิคให้กําลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของการอนุญาตทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งรวมถึงวิทยุชุมชนต่าง ๆ จะต้องไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ และ มีรัศมีการกระจายเสียงไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร นั้น ประกาศดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง และการกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง กล่าวคือ ในสถานการณ์ปัจจุบันมีจํานวนสถานีวิทยุชุมชนมากกว่าทรัพยากรคลื่นความถี่ที่จะสามารถรองรับได้ การบริหารจัดการคลื่นความถี่จึงมีความจําเป็น อย่างมากที่จะทําให้สถานีวิทยุชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถที่จะทดลองประกอบกิจการใช้ งานร่วมกันได้บนทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่จํากัด โดยในอดีตในช่วงเริ่มต้นของการมีวิทยุ ชุมชน นั้น มีสถานีวิทยุชุมชนจํานวนไม่มาก แต่ละสถานีตั้งอยู่ห่างไกลกัน สถานีวิทยุชุมชน ออกอากาศด้วยกําลังส่งเพียง ๑๐ - ๓๐ วัตต์ ก็สามารถให้บริการวิทยุกระจายเสียงครอบคลุม ได้เกินกว่า ๒๐ กิโลเมตร และบางสถานีสามารถให้บริการครอบคลุมได้ทั้งจังหวัด แต่ต่อมา เมื่อมีจํานวนสถานีวิทยุชุมชนเพิ่มมากขึ้น และมีการตั้งสถานีวิทยุชุมชนใกล้กัน มีการใช้คลื่น ความถี่ที่ซ้อนทับกัน ทําให้เริ่มมีการรบกวนสัญญาณวิทยุซึ่งกันและกันมากขึ้น และมีปัญหา ที่เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของวิทยุชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน มีการสร้างคลื่นความถี่ แปลกปลอม และแพร่คลื่นความถิ่นอกเหนือจากคลื่นที่ใช้ออกอากาศ คลื่นความถี่ แปลกปลอมนี้จะไปรบกวนคลื่นวิทยุชุมชนอื่น เมื่อสถานีวิทยุชุมชนได้รับสัญญาณวิทยุ รบกวนมากขึ้น ส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มกําลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงให้ สูงขึ้น เพื่อให้สัญญาณวิทยุของตนมีความแรงของสัญญาณที่สูงเพื่อกลบสัญญาณรบกวน เพื่อคงคุณภาพการรับฟังวิทยุกระจายเสียงของตนไว้ แต่ปัญหาเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่ ไม่ได้มาตรฐานยังไม่ได้รับการแก้ไข จนกระทั่งเกิดสัญญาณรบกวนที่รุนแรงจนรบกวน กิจการอื่น ๆ เช่น คลื่นความถี่ของวิทยุการบิน และหากทุกสถานีออกอากาศด้วยกําลังส่งสูง การรบกวนสัญญาณวิทยุจะมีระดับที่สูงมาก จนในที่สุดจะไม่สามารถรับฟังรายการของสถานี วิทยุใด ๆ ได้ชัดเจนเลย นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวยังกําหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทาง เทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสําหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ภาคผนวก ช) ซึ่งการที่เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด จะลด ผลกระทบของสัญญาณรบกวนได้อย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาข้อกําหนดทางเทคนิคด้านกําลังส่งของเครื่องวิทยุกระจายเสียง ไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ รัศมีกระจายเสียงไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร เป็นระดับที่เหมาะสม เมื่อพิจารณาจากจํานวนสถานีวิทยุชุมชนและจํานวนทรัพยากรคลื่น ความถี่ที่มีอยู่จํากัด ถ้ามีการกําหนดให้กําลังส่งของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสูงขึ้น และ รัศมีการกระจายเสียงที่มากขึ้น พื้นที่และทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่ไม่พอเพียงที่จะรองรับ การให้บริการกระจายเสียงวิทยุของวิทยุชุมชนทั้งหมดได้ ซึ่งจะมีการซ้อนทับกันของคลื่น ความถี่วิทยุในพื้นที่การให้บริการเดียวกัน เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน มีผลให้รัศมีการ กระจายเสียงที่รับฟังวิทยุได้อย่างชัดเจนลดลงกว่าที่กําหนดไว้เดิม กรณีที่กําหนดให้สถานี วิทยุชุมชนที่ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงปฏิบัติตามประกาศที่พิพาทดังกล่าว จะมีผลดีกับสถานีวิทยุชุมชนโดยรวม อย่างไรก็ตาม บางสถานีวิทยุชุมชนที่ให้บริการ กระจายเสียงวิทยุที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และมีรัศมีการกระจายเสียงเดิมมากกว่าที่ ประกาศกําหนดไว้ จะได้รับผลกระทบจากการกําหนดให้รัศมีกระจายเสียงลดลง เพื่อลด ผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงควรดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) สถานีวิทยุชุมชน ดําเนินการทดลองประกอบกิจการตามที่ประกาศกําหนด แต่จะเพิ่มรัศมีการให้บริการ โดยการเชื่อมโยงสัญญาณกับสถานีวิทยุชุมชนอื่นๆ ข้างเคียงในการออกอากาศที่เป็นเนื้อหา เดียวกัน เป็นการกระจายเสียงวิทยุเนื้อหาเดียวกันในหลายๆ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ ต่อเนื่องกัน (๒) กําหนดให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นการเฉพาะสําหรับสถานีวิทยุชุมชน ที่ให้บริการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ (๓) เพิ่มช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารนอกเหนือ การใช้สถานีวิทยุชุมชน เช่น การแพร่ภาพหรือวิทยุผ่านดาวเทียม การกระจายเสียงผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น (๔) ลดจํานวนสถานีวิทยุชุมชนลงให้มีจํานวนที่เหมาะสมกับ พื้นที่การกระจายเสียง และทรัพยากรคลื่นความถี่ และประกาศที่พิพาทจะช่วยให้การใช้งาน คลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน กล่าวคือ ประกาศ ดังกล่าวมีการกําหนดลักษณะทางเทคนิคด้านกําลังส่งของเครื่องวิทยุกระจายเสียง รัศมีการ กระจายเสียง เงื่อนไขการใช้คลื่นความถี่ รวมถึงมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่ง วิทยุกระจายเสียง สําหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งปัญหาการรบกวน การใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบิน สาเหตุหลักมาจากเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่ ไม่ได้มาตรฐานของวิทยุชุมชน มีการสร้างคลื่นความถี่แปลกปลอมและแพร่คลื่นความถี่ นอกเหนือจากคลื่นที่ใช้ออกอากาศ คลื่นความถี่แปลกปลอมนี้จะไปรบกวนคลื่นความถี่ ในกิจการวิทยุการบิน และเมื่อผนวกกับสถานีวิทยุชุมชนออกอากาศด้วยกําลังส่งที่สูงมาก ซึ่งเป็นส่วนเสริมให้มีการรบกวนสัญญาณวิทยุของกิจการวิทยุการบินอย่างรุนแรง และมีผลกระทบเป็นพื้นที่กว้าง ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการเดินอากาศ ถ้าการ รบกวนต่อกิจการวิทยุการบินยังดําเนินต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุทางการ บินได้ ดังนั้น การปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวจะมีส่วนช่วยลดสัญญาณรบกวนจากวิทยุ ชุมชนต่อกิจการวิทยุการบินได้อย่างชัดเจน ซึ่งสถานีวิทยุชุมชนทุกสถานีต้องปฏิบัติ ตามประกาศดังกล่าว ส่วนผู้ประกอบกิจการรายอื่นที่เป็นสถานีวิทยุหลักที่มีอยู่เดิมที่อยู่ นอกเหนือการบังคับใช้ของประกาศดังกล่าว แต่สถานีวิทยุหลักเหล่านี้ถูกกํากับดูแลเกี่ยวกับ เงื่อนไขการใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปตามแผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบ เอฟ. เอ็ม. ของ ประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งสถานีวิทยุหลักส่วนใหญ่ออกอากาศด้วยเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ที่มีมาตรฐาน การรบกวนความถี่ในกิจการวิทยุการบินมีน้อยเมื่อเทียบกับการรบกวนจาก วิทยุชุมชน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุชุมชนที่ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ ต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือสถานีวิทยุหลักที่ต้องปฏิบัติตามแผนความถี่ วิทยุกระจายเสียงระบบ เอฟ. เอ็ม. ของประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๘ การกํากับดูแลให้ทุกสถานี วิทยุปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดจึงมีความสําคัญที่จะช่วยให้ลดสัญญาณรบกวนต่อกิจการวิทยุการบินได้เป็นรูปธรรม

        ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยได้รับฟังสรุป ข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสํานวนและคําแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีด้วยแล้ว

        ศาลได้ตรวจพิจารณาเอกสารทั้งหมดในสํานวนคดี รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยแล้ว

        ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ซึ่ง ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า ประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในข้อ ๗ ของประกาศฉบับนี้กําหนดให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ที่มีอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์กําหนด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า ด้วยข้อกําหนดดังกล่าวทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเสียสิทธิในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เนื่องจากเป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๗ ของประกาศพิพาท โดยผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า สืบเนื่องมาจากก่อนหน้านี้คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติยังมิได้เปิดให้มีการแจ้งความประสงค์หรือลงทะเบียนประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทธุรกิจ ทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่ได้ดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนด ไว้ในกรณีนี้ และประกาศดังกล่าวออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งไม่มีอํานาจหรือนอกเหนือ อํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อยู่ในฐานะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลคลื่น ความถี่ แต่กลับประกอบกิจการสถานีวิทยุแข่งขันกับผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกันกับผู้ฟ้องคดีหรือผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรายอื่น กล่าวคือ ประกาศที่พิพาทกําหนดให้เครื่องส่งกําลังคลื่นมีค่าไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ ความสูงของสายอากาศไม่เกิน ๖๐ เมตร แต่สถานีวิทยุของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเช่นว่านั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเห็นว่า การกระทํา ดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และเป็นการจํากัดสิทธิเกินความจําเป็น อีกทั้ง เห็นว่า ประกาศดังกล่าวได้กําหนดให้ผู้ทดลองประกอบกิจการกระจายเสียงต้องชําระค่าธรรมเนียมเป็นค่าพิจารณาคําขอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าธรรมเนียมนอกเหนือจากที่กฎหมาย กําหนด ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กําหนดกฎเกณฑ์การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ อันมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร โดยมีการกําหนดให้ผู้ที่มีสิทธิเข้าอบรมเป็นผู้ประกาศต้องสําเร็จ การศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปี บริบูรณ์ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรมและทดสอบ จึงเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าจึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง

        คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การ อนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

        ในเบื้องต้นมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโต้แย้งว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่เป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือ เสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาต ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงไม่มีสิทธินําคดีมาฟ้องต่อศาล ปกครองตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกทั้งเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้านําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองล่วงเลยกําหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยก่อนว่า ข้อโต้แย้งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดังกล่าวฟังขึ้น หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าฟ้องว่าพวกตนมีความประสงค์ ประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงประเภทธุรกิจ แต่ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ไม่สามารถยื่นคําขอเพื่อเป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงได้ เนื่องจากข้อ ๗ ของประกาศดังกล่าว กําหนดให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ที่มีอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์กําหนด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศนี้ แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ ๒ ของประกาศพิพาท จึงถือว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดย มิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากข้อกําหนดในประกาศดังกล่าว ตามนัยมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนี้ ระยะเวลาในการฟ้องคดีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการคํานวณนับระยะเวลา เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้กําหนดวิธีการ นับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนําหลักทั่วไปตามมาตรา ๑๙๓/๓ วรรคสอง แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ประกาศของ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ดังนั้น วันที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ารู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีคือวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ และในการนับระยะเวลาไม่นับวันที่เกิดเหตุหรือวันที่รู้เหตุนั้นๆ ต้องนับวันถัดไปจึงต้องนับหนึ่งในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๕ เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งห้านําคดี มาฟ้องต่อศาลปกครองในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ จึงอยู่ภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่ วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองใน ประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น

        มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่กําหนด หลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับนี้ไว้ในข้อ ๗ ของประกาศดังกล่าว โดยให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ที่มีอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์กําหนด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบหรือไม่

        พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุญาตทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการออกใบอนุญาตตามประเภทที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนด โดยมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง และเพื่อรักษาคุณภาพ ของการรับฟังวิทยุกระจายเสียงของประชาชนทั้งในด้านของคุณภาพทางเทคนิค คุณภาพ ของเนื้อหารายการ โอกาสการเข้าถึงของประชาชน ให้มีความเป็นธรรม และยังประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจของสังคม โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการ ดําเนินการสื่อมวลชนของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน โดยประกาศของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้อาศัยอํานาจตามมาตรา ๒๗ (๓) (๔) (๕) (๖) (๔) (๑๐) (๑๑) (๑๓) (๑๗) (๑๔) และ (๒๔) และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งกําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอํานาจหน้าที่ในการ กําหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม และกําหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปราศจากการ รบกวนซึ่งกันและกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท ตลอดจนกําหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิคในการประกอบกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และในกิจการวิทยุคมนาคม และอาศัย บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้เหตุผลใน การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ว่า เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และ แนวทางในการพิจารณาให้สิทธิในการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั้งประเภท บริการสาธารณะ บริการชุมชน และบริการทางธุรกิจ แก่ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าสู่ มาตรการชั่วคราวก่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการออกใบอนุญาตตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งจะมีการกําหนดเงื่อนไขทั้งในด้านเทคนิค การจัดทําผังรายการ การควบคุมคุณภาพ เนื้อหารายการ การดําเนินการเพื่อหารายได้ในการดําเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง ที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ รวมถึงกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกฎหมายว่าด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม อันเป็นการเตรียมความพร้อมในภาคปฏิบัติจริงก่อนที่จะมีการเข้าสู่กระบวนการกํากับดูแล โดยการออกใบอนุญาตตามกฎหมายต่อไป โดยก่อนหน้านี้เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกําหนดให้ การจัดทําแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และการอนุญาตประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะต้องคํานึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง ผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้ คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากําไรในทางธุรกิจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ หากแต่ ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ไม่ได้มีการแต่งตั้ง กสช. เพื่อทํา หน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตจัดสรรและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการพิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ตามที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กําหนด ส่งผลให้สิทธิของภาคประชาชนที่จะได้ใช้งานคลื่นความถี่เพื่อการดําเนินกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมยังไม่เกิดผลขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ในขณะเดียวกันภาคประชาชนบางกลุ่ม ได้ริเริ่มดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนโดยอ้างสิทธิและเสรีภาพในการ แสดงออกตามมาตรา ๓๙ และสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติตาม มาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่การริเริ่มจัดตั้ง และการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนของประชาชนแม้จะเป็นการอ้างพื้นฐาน จากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ หากแต่เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอํานาจบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์จะต้องดําเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มประชาชนที่ดําเนินกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงชุมชนดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการทักท้วงของ ภาคประชาสังคมอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ต่อมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการเสนอเรื่อง ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีซึ่งมีมติในการประชุม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ และเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบต่อมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการลงทะเบียนของ ประชาชนเพื่อการจัดตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน ภายใต้หรือในนามของ กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายในการส่ง วิทยุกระจายเสียง โดยมีการกําหนดเงื่อนไขทางเทคนิคในการส่งวิทยุกระจายเสียง การจัด รายการและเนื้อหาการออกอากาศรายการต่างๆ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้มีผลจนกว่าจะ มีการแต่งตั้ง กสช. แล้วเสร็จ ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นจํานวนมาก โดยปราศจากการควบคุมหรือกํากับดูแลการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว ให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในส่วนของการ ใช้งานคลื่นความถี่เพื่อการส่งวิทยุกระจายเสียงที่คลื่นความถี่ตามแผนที่กําหนดไว้เดิมไม่ เพียงพอต่อการใช้เพื่อการส่งออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนได้ และในส่วน ของรายการที่มีการออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวในบางครั้งจะเป็นรายการที่มีเนื้อหารายการที่ไม่เหมาะสมหรือต้องห้ามตามกฎหมาย และเมื่อได้มีการบังคับ ใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้กําหนดให้คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตให้กับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงชุมชนรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ซึ่งจะมีอายุใบอนุญาต ไม่เกิน ๑ ปี โดย กทช. ในขณะนั้น ได้ออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาออกใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการชุมชนให้กับผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และด้วยมีผู้ดําเนินการในลักษณะของวิทยุกระจายเสียงชุมชน ซึ่งดําเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นจํานวนมาก และกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อบริหารจัดการกลุ่มผู้ดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ชอบด้วยกฎหมายโดยการ ยื่นคําขอและเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย จึงได้มีการกําหนดมาตรการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านและ เป็นการแก้ไขสภาวะการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย จึงกําหนดให้ผู้ที่ได้มีการประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้ ดําเนินการในลักษณะการให้บริการวิทยุกระจายเสียงชุมชนอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับ ดังกล่าวใช้บังคับและมีคุณสมบัติ รวมถึงความประสงค์ที่จะเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนตามประกาศฉบับดังกล่าว ให้แจ้งความประสงค์ ต่อคณะกรรมการภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และเมื่อ แจ้งความประสงค์แล้วจะได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว โดยมี เงื่อนไขที่จะต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กทช. ประกาศกําหนด รวมถึงการ ดําเนินการเพื่อให้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคที่กําหนด และ การดําเนินการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในการดําเนิน กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดําเนินการและเตรียมความพร้อมในการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กําหนด และเพื่อกํากับดูแลการใช้งาน คลื่นความถี่ของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนดังกล่าวมิให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรง ทั้งต่อการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและต่อการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการอื่นๆ เช่น กิจการวิทยุการบิน เป็นต้น และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการกําหนดมาตรการ ชั่วคราวเพื่อใช้กับผู้ประกอบการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ ตามที่กําหนดในแผนแม่บทการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงได้กําหนดให้ผู้มีสิทธิยื่นคําขอ เพื่อทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศพิพาท แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียง ชุมชน) ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว กลุ่มที่ ๒ ผู้ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ไว้ก่อนวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และกลุ่มที่ ๓ ผู้ที่ได้รับสิทธิ ในการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงอันเนื่องมาจากเป็นผู้แจ้งความประสงค์ไว้ตาม ข้อ ๑๘ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ประกอบกับ จํานวนคลื่นความถี่ที่กําหนดให้สําหรับการใช้ส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ เอฟ เอ็ม จํานวน ๒๐ MHz ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศนั้น เป็นช่วงความถี่ที่มีอยู่อย่างจํากัด หากไม่มีการควบคุมปริมาณการใช้งานคลื่น ความถี่ดังกล่าว ย่อมที่จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการให้บริการกิจการวิทยุกระจายเสียง อันสืบเนื่องมาจากการเพิ่มจํานวนสถานีวิทยุกระจายเสียง ไม่อาจที่จะควบคุมดูแลให้เกิด การใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ และการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มี คุณภาพ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมจํานวนสถานีวิทยุกระจายเสียงให้มีความเหมาะสมกับ ปริมาณคลื่นความถี่ที่มีอยู่กล่าวคือ ในแต่ละเขตพื้นที่นั้นจะต้องมีจํานวนสถานี วิทยุกระจายเสียงและมีขอบเขตการส่งวิทยุกระจายเสียงหรือรัศมีการออกอากาศในขอบเขต ที่เหมาะสมปราศจากการรบกวนกันอันจะทําให้การใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่สามารถที่จะรับฟังรายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียง ในเขตพื้นที่ของตนได้อย่างมีคุณภาพมีความชัดเจนปราศจากการรบกวนของคลื่นความถี่ และป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ในกิจการอื่นอย่างรุนแรง อาทิเช่น การรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินทั้งในส่วนของการติดต่อสื่อสารระหว่างหอบังคับการบิน และนักบินในขณะทําการบิน รวมถึงระบบการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อนําร่องการลงจอด อัตโนมัติของอากาศยาน ซึ่งมีความจําเป็นในกรณีที่ทัศนะวิสัยในบริเวณท่าอากาศยาน ไม่เหมาะสมต่อการนําเครื่องลงจอดโดยอาศัยการควบคุมของนักบิน ซึ่งการรบกวนการ ใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุการบินนี้จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินรวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินอากาศยาน ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่กําหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับนี้ ไว้ในข้อ ๗ ของประกาศดังกล่าว โดยให้ผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ที่มีอยู่ก่อนวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์กําหนด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคําขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับนี้ จึงถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว

        ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยไม่ให้ มีผลถึงผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรายเดิม เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หรือไม่

        พิเคราะห์แล้วเห็นว่า เหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ได้ประกาศกําหนดให้ ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทุกรายจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรฐานทางเทคนิค ในการใช้คลื่นความถี่ตามที่กําหนดในภาคผนวก ง ของประกาศพิพาท โดยกําหนดให้เฉพาะ ผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศพิพาทเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขมาตรฐานทางเทคนิคในการใช้คลื่นความถี่ตามที่กําหนดในภาคผนวก ง ของ ประกาศพิพาท สืบเนื่องมาจากในปัจจุบัน ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับสิทธิในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ซึ่งได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่และสิทธิในการประกอบกิจการตาม ขอบเขตที่ได้รับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา ตามนัยมาตรา ๓๐๕ (๑) ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ประกอบกับมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และมาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ และมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติรับรองให้การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ ในการอนุญาตและกํากับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียง จะต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งได้ กระทําขึ้นก่อนวันที่ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา จะสิ้นผลลง ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่อาจที่จะกําหนดเงื่อนไขหรือมาตรฐาน ทางเทคนิคในการใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงให้ผู้ประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงในกลุ่มนี้ปฏิบัติให้แตกต่างไปจากสิทธิเดิมตามที่ได้รับการอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ได้ สําหรับผู้ที่ได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศ หรือทดลองประกอบ กิจการกระจายเสียงตามประกาศหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กําหนด ซึ่งได้แก่ผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามประกาศพิพาท โดยมี เงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กําหนด โดยจะต้อง ส่งวิทยุกระจายเสียงในกําลังส่งไม่เกิน ๕๐๐ วัตต์ สายอากาศสูงไม่เกิน ๖๐ เมตร นับจาก พื้นดินที่ทําการติดตั้งเสาอากาศ และมีพื้นที่ในการให้บริการไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรบกวนระหว่างสถานีวิทยุกระจายเสียงด้วยกันเอง หรือ รบกวนการใช้คลื่นความถี่ในกิจการอื่น อันเป็นการคงและรักษาคุณภาพของการให้บริการ และการใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่วินิจฉัยไปแล้วข้างต้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่อาจกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้คลื่นความถี่ ของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งสองกลุ่มให้เท่าเทียมกันได้ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยไม่ให้มีผลถึงผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรายเดิม จึงเป็นการกระทํา ที่มีเหตุผลรับฟังได้ มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด

        กรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อยู่ในฐานะที่เกี่ยวข้อง กับการกํากับดูแลคลื่นความถี่และสถานีวิทยุกระจายเสียง แต่กลับประกอบกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงแข่งขันกับผู้ประกอบกิจการโดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เดียวกันกับผู้ฟ้องคดีหรือผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรายอื่น จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรม นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า สถานีวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เดิมเป็นกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมไปรษณีย์โทรเลข ที่โอนมาเป็นทรัพย์สินของสํานักงาน กทช. โดยผลของกฎหมาย ซึ่งต่อมาภายหลังจาก ที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับ มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน กทช. ที่มีอยู่ไปเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังนั้น กิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียงของสํานักงาน กทช. จึงมาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผลของกฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งการดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว เป็นกิจการที่ดําเนินการก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีสิทธิและหน้าที่ในการ ดําเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ในความรับผิดชอบต่อไปจนถึงวันที่กําหนด ในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีหน้าที่ ในการแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่และความจําเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งปรากฏว่า ได้มีการดําเนินการแจ้งรายละเอียดและความจําเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกําหนดแล้ว จึงรับฟังได้ว่า การดําเนินกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการดําเนินการตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย และไม่อยู่ในบังคับของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ เช่นเดียวกับสถานีวิทยุกระจายเสียงของ ผู้ประกอบกิจการรายเดิมตามที่วินิจฉัยไปแล้วข้างต้น ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงไม่อาจรับฟังได้

        กรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กําหนดหลักเกณฑ์การ อบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนดให้ผู้ที่มีสิทธิเข้าอบรมผู้ประกาศต้องสําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรมและทดสอบ นั้น เมื่อพิจารณาประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ อันเป็น ประกาศที่พิพาทในคดีนี้ไม่พบว่ามีกฎเกณฑ์ดังที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ากล่าวอ้าง แต่พบว่า กฎเกณฑ์ดังกล่าวกําหนดไว้ในประกาศ กสทช. เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตร ผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับ ข้อเท็จจริง ในสํานวนคดีไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้มีคําขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนประกาศ ดังกล่าว ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าในประเด็นนี้จึงไม่จําต้องวินิจฉัย

        สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าอ้างว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การ อนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ กําหนดให้ผู้ทดลองประกอบ กิจการกระจายเสียงต้องชําระค่าธรรมเนียมเป็นค่าพิจารณาคําขอ ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียม นอกเหนือจากที่กฎหมายกําหนดเพราะกฎหมายกําหนดให้มีการชําระค่าธรรมเนียมต่อเมื่อ ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ วรรคสอง บัญญัติว่า การยื่นคําขออนุญาต และการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกําหนด เว้นแต่การประกอบกิจการทางธุรกิจให้เป็นไปตามที่ กําหนดในวรรคหก วรรคสาม บัญญัติว่า ให้ถือว่าการยื่นคําขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ตามวรรคหนึ่ง เป็นการยื่นคําขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ด้วย และเมื่อ กสทช. อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แล้วให้ถือว่าอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจาย เสียง หรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ และให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมด้วย ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ระบุ ไว้ในคําขออนุญาต วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีที่เป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการทางธุรกิจตามที่กําหนด ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้ใช้วิธีคัดเลือก โดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งในระดับชาติระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยให้ แยกกันประมูลในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกําหนด และมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ให้ กสทช. มีอํานาจกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑ โดยแยกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาตและต้องชําระเป็นรายปีในอัตราที่เหมาะสมกับประเภทของใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ ให้ถือว่าเงิน ที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาต และเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นําส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้อํานาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตามมาตรา ๔๑ โดยแยกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาตและต้องชําระเป็นรายปีในอัตรา ที่เหมาะสมกับประเภทของใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการ ทางธุรกิจ ให้ถือว่าเงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก เป็นค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาต ดังนั้น เฉพาะผู้ที่ได้รับ ใบอนุญาตเท่านั้นที่จะต้องชําระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๑๐ วรรคสอง กําหนดว่า เมื่อแบบคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความครบถ้วนของแบบคําขอ เอกสาร และหลักฐานตาม วรรคแรกครบถ้วนทุกรายการแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งสิทธิการทดลองประกอบกิจการ พร้อมเงื่อนไขการทดลองประกอบกิจการให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในสิบห้าวันทําการนับแต่ ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผลการดําเนินงานต่อ คณะกรรมการเพื่อทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันแจ้งสิทธิทดลองประกอบกิจการ วรรคสาม กําหนดว่า ให้ผู้ทดลองประกอบกิจการมีหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้รับ ใบอนุญาต โดยต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และเงื่อนไขตามที่ คณะกรรมการกําหนด ข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง กําหนดว่า ระยะเวลาการทดลองประกอบกิจการ ให้มีระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ เห็นว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการมีสิทธิและหน้าที่ทํานองเดียวกับผู้รับใบอนุญาต ดังนั้น เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการเท่านั้นที่จําต้องชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว และต้องชําระเมื่อได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ วรรคห้า ที่กําหนดให้ผู้ขอทดลองประกอบกิจการทุกรายต้องชําระค่าธรรมเนียม พิจารณาคําขอ จึงเป็นการใช้อํานาจเกินกว่าที่กําหนดไว้ใน มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนผู้ขอทดลองประกอบกิจการเกินสมควร จึงเป็นการกระทําโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีทั้งห้ารับฟังได้

        พิพากษาเพิกถอนประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลอง ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ เฉพาะข้อ ๘ วรรคห้า ส่วนคําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

อ่านคำพิพากษาต้นฉบับที่นี่ : ดาวน์โหลด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประกาศ หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้