Last updated: 22 มี.ค. 2564 | 3354 จำนวนผู้เข้าชม |
20 ปี ศาลปกครองชูระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ ให้ประชาชนเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยเรียบง่าย มีความสะดวกและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
วันที่ 9 มีนาคม 2564 นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานในการ แถลงผลการดำเนินงานของศาลปกครอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การเปิดทำการศาลปกครอง ณ ห้องสัมมนา 1 ชั้นบี 1 อาคารศาลปกครอง โดยแถลงผลการดำเนินภารกิจด้านการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองในภาพรวมตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ว่า นับจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลปกครอง รับคดีเข้าสู่การพิจารณาแล้ว จำนวน 174,424 คดี เป็นคดีที่ประชาชนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น จำนวน 123,380 คดี และเป็นคดีอุทธรณ์หรือฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด จำนวน 51,044 คดี โดยศาลปกครองสามารถพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จ จำนวน 146,537 คดีคิดเป็นร้อยละ 84.01 ของคดีรับเข้า
สำหรับการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ประธานศาลปกครองสูงสุดกล่าวว่า นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา ศาลปกครองได้มีการเปิดใช้งานระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ของศาลปกครอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่กรณีและประชาชน ให้สามารถยื่นฟ้องคดี ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา และได้มีการพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถยื่นคำฟ้อง คำให้การ และสำเนาพยานหลักฐานประกอบคำฟ้อง คำให้การ และตามที่ศาลมีหมายเรียก การชำระค่าธรรมเนียมศาล ส่งคำร้องคำขอ รวมไปถึงการขอดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลในสำนวนคดีของตนเอง รวมทั้ง ตรวจดูและพิมพ์ เอกสารในสำนวนคดีของตนและของคู่กรณีฝ่ายอื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศาลปกครอง ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบแล้วรวมจำนวน 916 ราย
โดยในส่วนของศาลปกครองชั้นต้น มีคดีที่ยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 267 คดี พิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 126 คดี ส่วนคาลปกครองสูงสุด มีคดีฟ้องตรงที่ยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 19 คดี พิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 17 คดี มีคดีค้าง จำนวน 2 คดี
นอกจากการเพิ่มช่องทางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ศาลปกครองยังได้เพิ่มทางเลือกใหม่ในการอำนวยความยุติธรรม โดยเปิดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง ซึ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ที่นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ มีคดีที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาลปกครองชั้นต้น จำนวน 203 คดี ไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จ จำนวน 164 คดี คิดเป็นร้อยละ 80.79 ของคดีที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และมีคดีอยู่ระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 39 คดี ซึ่งคดีที่ไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จร้อยละ 70.12 ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน
และในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด - 19 ผลิตผลงานคดีของศาลปกครองสูงสุด เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 โดยมีคดีรับเข้า จำนวน 3,467 คดี และมีคดีแล้วเสร็จ จำนวน 4,116 คดี ซึ่งเป็นผลจากการใช้นโยบาย Work From Home โดยใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนในการดำเนินงาน
ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวต่ออีกว่า สำหรับทิศทางการดำเนินงานของศาลปกครองในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นปีที่ศาลปกครองจะก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามนั้น ได้กำหนดให้เป็น "ปีแห่งการพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนและในระดับสากล และสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
โดยในการพัฒนาการอำนวยความยุดิธรรมทางปกครองที่เป็นมาตรฐานนั้น ได้กำหนดให้มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน มีความรวดเร็ว รวมทั้งส่งเสริมให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถทำให้ข้อพิพาทยุติลงด้วยดีภายในระยะเวลาที่รวดเร็วมาใช้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ คู่กรณีได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้าและสามารถแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายของประชาชนและคู่กรณีได้ทันการณ์ ตลอดจนมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมสามารถเข้าถึงการอำนวยความยุดิธรรมทางปกครองได้โดยเรียบง่าย มีความสะดวกและไม่สิ้นเปลืองคำใช้จ่าย ด้วยช่องทางสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม และชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชนผ่านระบบงาน ดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ และการพิจารณาคดีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ในวันนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าศาลปกครองได้พัฒนาระบบสารสนทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองตั้งแต่ต้นจนจบทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มตันการฟัองคดี การตั้งสำนวน การตรวจคำฟ้องไปจนถึงชั้นการกำหนดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ตลอดจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดทำร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง รวมทั้งขั้นตอนเมื่อศาลมีหมายแจ้งหรือศาลเรียกคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง คู่กรณีจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับศาลปกครอง และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคู่กรณียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ศาลปกครองยังได้ปรับปรุงห้องพิจารณาคดีและห้องไต่สวนให้เป็นห้องพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courtrooms) ที่ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพ (Projector) และโทรทัศน์วงจรปิดที่ถ่ายทอดภาพจากคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพ 3 มิติ (Visualizer) ทำให้คู่กรณีทุกฝ่ายรวมทั้งผู้เข้ารับฟังการพิจารณาสามารถเห็นเอกสารพยานหลักฐานที่ศาลใช้ประกอบในการพิจารณาคดีและไต่สวนผ่านอุปกรณ์ภายในห้องพิจารณา โดยได้ติดตั้งระบบบันทึกภาพและเสียงเพื่อบันทึกการนั่งพิจารณาคดี ไต่สวนและให้ถ้อยคำต่อศาลเพื่อให้ศาลเรียกดูไฟล์วีดิทัศน์และเสียงที่บันทึกในภายหลังได้
และประการสำคัญ ศาลปกครองได้กำหนดให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและกระบวนการทำงานของศาลปกครอง ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิในการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง เช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อการพิจารณาพิพากษาคดีและการบริการประชาชน ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงและสอดคล้องกับแนวคิดการทำงานสมัยใหม่ เช่น การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Arificial Intelligence: Al) เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานสู่การเป็นศาลปกครองอัจฉริยะ (Smart Admincourt) การพัฒนา Mobile Application ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาชน การพัฒนาระบบข้อมูลองค์ความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีคุณภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ