ปิดฉากไปแล้วสำหรับงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 6-7 ธันวาคม 2560 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร พร้อมชู 7 นโยบายสร้างความปลอดภัยทางถนน
การสัมมนาระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน กำหนดจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทราบนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และมีส่วนร่วมเสนอนโยบายสาธารณะ รวมทั้งแนวทางการบูรณาการในการดำเนินงาน เพื่อให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำความรู้ แนวทาง และรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ไปเผยแพร่และปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในการทำงานที่จริงจังและมีประสิทธิภาพ และงานสัมมนานี้ถือเป็นการรวบรวมผลงานองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในหลายมิติจากภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศไว้ได้มากที่สุด
ผลสรุปจากงานสัมมนารวบรวมไว้ 7 ด้าน เพื่อการลงทุน ตามวัตถุ ประสงค์ของการจัดงานที่ตั้งไว้ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอด ภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวว่า ภาคีที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้สรุปข้อเสนอนโยบาย รวม 7 ด้านการลงทุน ได้แก่
- การลงทุนกลไกระดับพื้นที่ โดยปรับปรุง-แก้ไขกฎระเบียบให้ท้องถิ่นสามารถจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะคณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดระเบียบ บทบาทหน้าที่ท้องถิ่นที่ชัดเจน และ ศปถ. ลงทุนระบบสนับสนุนกลไกจัดการระดับพื้นที่ ได้แก่ การพัฒนาทีมอนุกรรมการ ศปถ. จังหวัด อำเภอ ในด้านการจัดการข้อ มูล การจัดทำแผนบูรณา การรวมถึงจัดให้มีงบประมาณที่เพียงพอ
- การลงทุนด้านถนนปลอดภัย ส่งเสริมการนำต้นแบบการจัดการจุดเสี่ยงระดับท้องถิ่นมาใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุม และการจัดการความเร็ว โดยส่งเสริมการกำหนดความเร็วจำกัดในเขตเมือง โดย ศปถ. เป็นแกนหลักในการกำหนดสปีดโซน (Speed Zone) ร่วมกับตำรวจ และมีเวทีแลกเปลี่ยน
- การลงทุนด้านยานพาหนะปลอดภัย ได้แก่ ลงทุนเทคโนโลยีการผลิตยุคใหม่กับความปลอดภัยของยานพาหนะ เช่น ภาครัฐร่วมผลักดันกฎระเบียบที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ยานพาหนะบนท้องถนนไทยมีการติดตั้งเทคโนโลยีความปลอดภัย และทุกฝ่ายมีส่วนผลักดันให้เกิดกลไกตลาดที่เกิดจากความต้องการซื้อยานพาหนะที่มีมาตรฐานความปลอดภัย เป็นต้น สนับสนุนทิศทางและบทเรียนการจัดการปัญหารถรับส่งนักเรียนในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายขั้นต้น อาทิ รถตู้รับส่งนักเรียนทุกคันต้องได้รับการขึ้นทะเบียน การจัดให้มีการประกันภัยรถที่เทียบเท่ากับรถโดยสารสาธารณะ
- การลงทุนด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลกระทำความผิดซ้ำโดยเฉพาะคดีเมาแล้วขับ
- การลงทุนด้านสถานประกอบการปลอดภัยทางถนน ให้ศึกษาและปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนให้ระบบความปลอดภัยและคณะกรรมการความปลอดภัยเข้ามามีบทบาทในการจัดการความปลอดภัยทางถนนให้กับบุคลากรในองค์กร และส่งเสริมให้ทุกองค์กรมีมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน ร่วมกับกลไกอื่น ๆ เช่น ประชารัฐเพื่อสังคม ระบบ จปถ.-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางถนน ในสถานประกอบการ เป็นต้น
- ด้านการลงทุนเพื่อเด็กไทยปลอดภัย ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายสนับสนุนให้สถานศึกษาภายใต้สังกัดมีการจัดการข้อมูลจากระบบที่มีอยู่มาจัดการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อออกมาตรการ นโยบายในการป้อง กันแก้ไขปัญหา และให้ ศปถ.จังหวัดร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ในการวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลในการประชุม ศปถ.ระดับจังหวัด พร้อมให้ ศธ. สนับสนุนให้สถานศึกษาภายใต้สังกัดจัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนครอบคลุมทุกช่วงวัย
- การลงทุนด้านการตอบสนองหลังเกิดเหตุ ได้แก่ พัฒนาและผลักดันระบบข้อมูลสอบสวนการบาดเจ็บ พร้อมทั้งมีกระบวนการนำเสนอสู่การป้องกันแก้ไข ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น ศปถ.จังหวัด อำเภอ เป็นต้น พร้อมพัฒนาระบบจัดการรถพยาบาลปลอดภัย โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างรถที่ปลอดภัย ระบบการกำกับความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ขับต่อเนื่องเกินเวลา และสนับสนุนการทำงานกู้ชีพ กู้ภัย ที่จะช่วยระบุข้อมูลจุดเกิดเหตุที่จะนำไปสู่การสื่อสาร และป้องกันแก้ไข
อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่ได้จากการสัมมนาครั้งนี้ขับเคลื่อนสู่การพัฒนาต่อไป เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งจากสถิติมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากถึง 20,000 รายต่อปี เมื่อเทียบเป็นเม็ดเงินออกมามีมูลค่าความสูญเสียสูงถึง 5 แสนล้านบาท
รายการ “คลื่นชุมชนถนนปลอดภัย”
- วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560
- เวลา 19.30-20.00 น.
ผู้ดำเนินรายการ
- นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ
- นางสาวอรอุมา สิงห์กวาง
ผู้ผลิตรายการ
- สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ
- สมาคมสื่อช่อสะอาด
ห้องบันทึกเสียง
- สถานีวิทยุปากเกร็ด FM 93.75 MHz จังหวัดนนทบุรี
ผู้ควบคุมรายการ
- นายสุทนต์ กล้าการขาย
- นางอิสรีย์ กล้าการขาย
รูปแบบรายการ
- รายการข่าวสารประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อความปลอดภัยทางถนน สัดส่วน 25% สำหรับผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556
- ความยาว 30 นาที
วิธีการดำเนินงาน
งบประมาณสนับสนุน
ช่องทางการเชื่อมโยงสัญญาณถ่ายทอดเสียง
- กดลิ้งก์ดาวน์โหลดรายการล่วงหน้าเป็นไฟล์.MP3
- รับลิ้งก์สัญญานถ่ายทอดสดผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 128Kb/s http://radio1.chorsaard.net:9999
- เว็บไซต์สมาคมสื่อช่อสะอาด www.chorsaard.or.th หรือ www.chorsaard.net
- เว็บไซต์สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ www.accident.or.th
ช่องทางการส่งกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
- สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 421 สถานี
ฟังรายการย้อนหลังผ่านยูทูป ช่องวีดีโอ chorsaard