Last updated: 12 ธ.ค. 2560 | 5251 จำนวนผู้เข้าชม |
ไม่ใช่โชคช่วยได้เพราะฝีมือล้วนๆ "WHO" เผยรายงานผลความปลอดภัยทางถนนปี 59 ไทยยอดตายพุ่งสูงขึ้นอาจมีแนวโน้มรุนแรง จนกลายเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผอ.ศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทยในปี 2559 ประเทศไทยมีจำนวน ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 22,356 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 2,877 ราย (ปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 19,479 ราย ) และ 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชาย ซึ่งช่วงวัยที่เสียชีวิตสูงสุด คือวัยรุ่นและวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15 -29 ปี โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตน่าตกใจยิ่งเพราะเป็นความสูญเสียที่มากมายมหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งยังไม่นับรวมจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและพิการอีกปีละนับล้าน ๆ คน เมื่อตีเป็นมูลค่าความสูญเสียรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี
นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย กล่าวอีกว่า กระบวนการสำรวจ จัดเก็บ และคำนวณผลจากข้อมูลดังกล่าวได้จากการใช้ข้อมูล 3 ฐานเปรียบเทียบกันเป็นหลัก ประกอบด้วย 1. ใบมรณบัตรของกระทรวงมหาดไทย(มท.) กับ กระทรวงสาธารณสุข 2. รายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3. ผู้จด พรบ.กับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทั้งหมดจะทำการเทียบกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ระดับอายุ ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 100 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ลงลึกไปถึงการค้นข้อมูลของกรมการ ปกครอง มท. สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ สสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการขนส่ง ทางบกกระทรวงคมนาคม กรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน และตำรวจภูธรจังหวัดด้วย
“ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนใกล้เคียงกับการประมาณการขององค์การอนามัยอนามัยโลก ทำให้น่ากังวลว่าเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีแนวโน้มสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น และมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก จากครั้งที่ผ่านมาที่ประเทศไทยมีตัวเลขผู้เสียชีวิตบนท้องถนนอยู่ในอันดับ 2 ของโลก และแม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะมีความพยายามและตื่นตัวในการป้องกันอุบัติเหตุ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้ตัวเลขอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงได้ ทั้งนี้ข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อไปยังองค์การอนามัยโลก เพื่อรวบรวมจัดทำเป็นรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลกต่อไป” นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย กล่าว และเผยต่อไปว่า
ปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือ มีคนทำผิดกฏหมายแต่ไม่ได้ถูกลงโทษจนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งในแต่ละวันมีจำนวนหลายสิบล้านคน และเมื่อจะเข้มงวดกวดขันจริงจัง ก็มักจะถูกต่อต้านรุนแรง รวมทั้งกำลังพลที่จะทำหน้าที่บังคับกฎหมายก็มีไม่เพียงพอและยังไม่มีงบประมาณพอที่จะนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้
ด้าน ดร.ปรีดา จาตุรพงศ์ อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขึ้นอยู่กับจังหวัดที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนผู้เสียชีวิต 1 คนต่อประชากร 100,000 คน พบว่า 6 อันดับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งหมด(คิดเป็นเปอร์เซ็น) ได้แก่ ระยอง 72 , สระแก้ว 69 , ชลบุรี 58 , จันทบุรี 57 , นครนายก 56 และปราจีนบุรี 55 ด้าน ดร.ปรีดา จาตุรพงศ์ อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขึ้นอยู่กับจังหวัดที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนผู้เสียชีวิต 1 คนต่อประชากร 100,000 คน พบว่า 6 อันดับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งหมด(คิดเป็นเปอร์เซ็น) ได้แก่ระยอง 72 , สระแก้ว 69 , ชลบุรี 58 , จันทบุรี 57 , นครนายก 56 และปราจีนบุรี 55
ส่วน 6 อันดับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด(คิดเป็นเปอร์เซ็น) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 14.30 , ยะลา 17.2 , แม่ฮ่องสอน 18.2 , สตูล 18.3 , อำนาจเจริญ 18.4 และปัตตานี 20 นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 45 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์มากสุดถึงร้อยละ 39 คน เดินเท้าร้อยละ 5 และคนขี่จักรยานร้อยละ 1 ขณะที่ 5 อันดับจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลรายงานความปลอดภัยปี 2557 ได้แก่ สระแก้ว ลพบุรี นครนายก อ่างทอง และสิงห์บุรี ส่วนจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตลดลง 5 อันดับจังหวัด ได้แก่ ตาก ชุมพร ปราจีนบุรี นครสวรรค์
ขอบคุณข้อมูลภาพข่าวจากเดลินิวส์